Page 330 - kpiebook67020
P. 330

329




           ในส�านวนการสอบสวน ซึ่งมีผลต่อการใช้อ�านาจดุลพินิจสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี ซึ่งไม่ว่า

           จะเป็นไปทางใดก็ล้วนแต่กระทบต่อหลักการรักษาความสงบสุขของสังคม การป้องกัน
           อาชญากรรม หลักสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน หลักสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
           รวมทั้งไม่สอดคล้องต่อหลักการสากลเกี่ยวกับการด�าเนินคดีอาญา คือ หลักการปกครอง

           ด้วยกฎหมาย หรือ The Rule of Law


                  ประเด็นปัญหาประกอบที่ท�าให้ปัญหาในเชิงโครงสร้างส่งผลวิกฤต ได้แก่

                  1. อ�านาจผูกขาดการสอบสวนของต�ารวจ ขาดกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุล

           หรือร่วมมือในการสอบสวน ประชาชนหรือผู้ถูกกล่าวหาขาดความรู้ หรือขาดความพร้อม
           ทางเศรษฐกิจ ตกอยู่ในสภาวะจ�ายอมในช่วงเวลาอยู่ในระหว่างการสอบสวนที่ต้อง

           เผชิญหน้าโดยล�าพัง เป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสเกิดการใช้อ�านาจโดยมิชอบหรือโดยทุจริต
           ได้มาก ดังกรณีศึกษาที่เกิดเป็นประเด็น จ�าเลยอ้างว่าเป็นการกระท�าเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง

           และพยานหลักฐานในคดีเสพติด ซึ่งมีข้อพิจารณาต่อเนื่องว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
           การกระท�าของจ�าเลยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ขอบเขตการสอบสวนของเจ้าหน้าที่สอบสวน

           หรือไม่ กรณีดังกล่าวมีเพียงฝ่ายจ�าเลยที่กล่าวอ้างเพื่อให้ตนพ้นความผิด ข้อกล่าวหา
           ที่มีโทษหนักที่สุด คือ การท�าให้เสียชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288

           และ มาตรา 289 (5) ซี่งผลที่เกิดจากการกระท�าดังกล่าวไม่ว่าเป็นเหตุใดก็ตาม ท�าให้
           ผู้ถูกกระท�าเสียชีวิต อันเป็นการกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานชีวิตของบุคคล ไม่สอดคล้อง

           กับหลักการและกติกาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และรัฐธรรมนูญ

                  2. จารีตระเบียบแบบแผนการปฏิบัติ หรือ norm ในการสอบสวนคดีอาญา

           การค้นหาพยานหลักฐาน การรับสารภาพ ที่ละเลยและไม่ให้ความส�าคัญกับหลัก
           สิทธิมนุษยชน หรือหลักการอันเป็นหัวใจส�าคัญของการด�าเนินคดีอาญา ดังภาพสะท้อน

           สังคมไทยว่ามีปัญหาวิกฤตเกี่ยวกับการใช้อ�านาจ หรือการกระท�าโดยมิชอบ มีการซ้อม
   325   326   327   328   329   330   331   332   333   334   335