Page 280 - kpiebook67015
P. 280
โครงการรถช่วยเหลือประชาชน “People Assistance Vehicle”
เดิมเทศบาลเมืองลำพูนได้ดำเนินภารกิจ การรับ-ส่งผู้ป่วยไปสถานพยาบาล ภายใต้
ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) 1669 แต่ด้วยในปี พ.ศ. 2561 มีระเบียบกำหนดให้รถกู้ชีพ
1669 รับได้แต่เฉพาะ “ผู้ป่วยฉุกเฉิน” เท่านั้น จึงทำให้บุคคลกลุ่มเปราะบางหรือผู้อยู่ใน
สภาวะพึ่งพิง “ถูกจำกัดสิทธิ” ในการขอรับบริการ และเกิดความยากลำบากในการเข้าถึงสิทธิ
ทางการแพทย์
เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่าง “บุคคลผู้เข้าถึงสิทธิ” กับ “บุคคลผู้ถูกจำกัดสิทธิ” :
หลักเกณฑ์ในการประเมินความเหลื่อมล้ำ คือ จำนวนประชากรซึ่งอาจป่วยในสภาวะฉุกเฉิน
ต่อกลุ่มเปราะบางที่เป็นผู้ป่วยสภาวะไม่ฉุกเฉิน โดยเทศบาลเมืองลำพูนมีประชากรในปี
2565 จำนวน 11,117 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคม จำนวน 3,663 คน แยกประเภท
ดังนี้
ประเภท จำนวน (คน) คิดเป็นร้อยละ
ผู้สูงอายุ 3,195 28.7
ผู้พิการ 427 3.8
ผู้ป่วยติดเตียง 41 0.3
ดังนั้นจึงถือว่ามีกลุ่มบุคคลถูกจำกัดสิทธิ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ถึง ร้อยละ 32.8
เทศบาลเมืองลำพูนได้มอบหมายให้งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้ปฏิบัติ
ภารกิจรับ-ส่งผู้ป่วยและจัดส่งเจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยผู้ซึ่งปฏิบัติงาน
เข้ารับการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยอย่างถูกวิธี
ซึ่งได้ปฏิบัติภารกิจโดยใช้รถตรวจการณ์งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก้ไขปัญหา
ในเบื้องต้น จากนั้นเทศบาลเมืองลำพูนได้นำรถยนต์ส่วนกลางและอุปกรณ์ที่จำเป็นมาปรับปรุง
ให้เป็นรถบริการ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการขอรับบริการของประชาชน และต่อมาเทศบาลจึง
ได้ประชุมหารือร่วมกันกับภาคีเครือข่ายในชุมชนเพื่อหาแนวทางการพัฒนาและต่อยอด
กิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและในระยะยาวมีรถ
และอุปกรณ์ได้มาตรฐานในการให้บริการ
รางวัลพระปกเกล้า’ 66