Page 284 - kpiebook67015
P. 284
ต้นธง และตำบลเหมืองง่าในอัตราค่าใช้จ่ายรายละ 500 บาทเท่านั้น แต่ด้วยสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อญาติที่อยู่นอกพื้นที่ ไม่สามารถนำศพผู้เสีย
ชีวิตด้วยโรคติดเชื้อโควิด-19 กลับไปทำการฌาปนกิจในฌาปนสถานที่อยู่ในพื้นที่ของตนเองได้
ก็จะทำให้ศพตกค้างจำนวนมากและต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ดังนั้น เทศบาลเมืองลำพูน
จึงเข้ามาให้บริการฌาปนกิจศพ โควิด-19 ในอัตรารายละ 500 บาท ปัญหานี้จึงถือ
เป็นความเหลื่อมล้ำในด้านการหาฌาปนสถานที่มีความเหมาะสมเพื่อทำการฌาปนกิจศพ
ในช่วงวิกฤติโควิด-19
โดยมีเกณฑ์การแบ่งความเหลื่อมล้ำ ได้แก่
1) ศพผู้เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่
ตำบลในเมือง เขตรอยต่อตำบลต้นธง ตำบลเหมืองง่า และศพที่อยู่นอกเขตพื้นที่
2) อัตราค่าใช้จ่ายในการฌาปนกิจศพในสภาวะปกติและสภาวะการแพร่ระบาดของ
โรคคิดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19
เทศบาลเมืองลำพูน ได้ทำความตกลงร่วมมือกับ โรงพยาบาลลำพูนในการจัดการ
ฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 จากโรงพยาบาลลำพูน
ทุกรายโดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 จัดประชุมคณะกรรมการบริหารงานศูนย์บริหารงานโควิด เทศบาลเมือง
ลำพูน
ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการดำเนินงาน ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ภาครัฐ และเครือข่าย
ภาคประชาชน
ขั้นตอบที่ 3 จัดอบรมวิธีจัดการศพติดเชื้อผู้เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ
โควิด-19 ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องภายใต้ Universal Prevention for Covid-19
ขั้นตอบที่ 4 ดำเนินการฌาปนกิจศพ ให้เป็นไปตามรูปแบบที่วางไว้ โดยใช้บุคลากร
ครั้งละ 6 คน ในการยกโลงศพขึ้นสู่เมรุ แต่เนื่องจากสถานการณ์การเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ
มีจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำแทบทุกวัน วันละ 2 ครั้ง คือ เช้า-บ่าย จึงทำให้
บุคลากรเกิดความเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ดังนั้น เทศบาลเมืองลำพูน
จึงได้ทำการประชุมถอดบทเรียนและวิเคราะห์ปัญหาระหว่างการดำเนินงาน โดยจัดให้มี
รางวัลพระปกเกล้า’ 66