Page 276 - kpiebook67015
P. 276
6
แต่ผลการทดสอบยังต่ำกว่าระดับต้นสังกัดและระดับประเทศ ดังนั้น เทศบาลเมืองลำพูนจึงได้
วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและความท้าทายที่เด็กในพื้นที่ต้องเผชิญ และพบว่า การสร้างฐาน
ความรู้ให้กับเด็ก การปลูกฝังความกล้าแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เป็นการสร้าง
พลเมืองที่ดีในอนาคต จะต้องพัฒนาจากระดับปฐมวัย เทศบาลเมืองลำพูนจึงได้ทำการสำรวจ
ข้อมูลสภาพแวดล้อมทางสังคมและพื้นฐานครอบครัวเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาล
เมืองลำพูน ที่มีจำนวนทั้งหมด 400 คน จากระบบสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น (LEC)
1
และอ้างอิง ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ครอบคลุมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.) ด้านสภาพครอบครัว: ครอบครัวอของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาล
อยู่ด้วยกัน จำนวน 312 ครอบครัว แยกกันอยู่ จำนวน 49 ครอบครัว และหย่าร้าง
จำนวน 39 ครอบครัว
2.) ด้านความหลากหลายทางเชื้อชาติ: เด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลมีเชื้อชาติ
ไทย จำนวน 345 คน หลากหลายเชื้อชาติ จำนวน 55 คน
3.) ด้านรายได้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย: รายได้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในโรงเรียน
สังกัดเทศบาลต่ำกว่า 38,000 บาท/ปี จำนวน 62 คน รายได้ 38,000 -
108,000 บาท/ปี จำนวน 207 คน รายได้ 108,000 บาทขึ้นไป/ปี จำนวน 131 คน
4.) ด้านพัฒนาการของเด็กปฐมวัย: มีเด็กปฐมวัยขาดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จำนวน 120 คน เด็กปฐมวัยไม่กล้าตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
จำนวน 344 คน
5.) เด็กปฐมวัยมีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและภาษา จำนวน 55 คน
ผลจากการสำรวจพบว่า ความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ของเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัด
เทศบาลเมืองลำพูน เกิดขึ้นจากความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยเด็กปฐมจำนวน 55 คน
ไม่กล้าตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทั้งนี้ ยังมีเด็กปฐมวัยมีความหลากหลาย
ทางด้านเชื้อชาติและภาษา จำนวน 5 คน รวมทั้งมีผลการประเมินพัฒนาการเฉลี่ย
ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกายอยู่ที่ร้อยละ 73.58 พัฒนาการทางด้านอารมณ์
และจิตใจอยู่ที่ร้อยละ 28.86 พัฒนาการทางด้านสังคมอยู่ที่ร้อยละ 69.05 พัฒนาการด้าน
สติปัญญาอยู่ที่ร้อยละ 66.10 โดยในจำนวนผู้ปกครองของเด็กปฐมวัน มีผู้ปกครองที่มีรายได้
1 กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
รางวัลพระปกเกล้า’ 66