Page 271 - kpiebook67015
P. 271
6
การดำเนินโครงการใกล้บ้านห่วงใย ดูแลป่วยไข้ ใส่ใจทุกสิทธิ มีองค์ประกอบที่เป็น
ปัจจัยแห่งความสำเร็จสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1) “ทุน” มีการสนับสนุนทั้งงบประมาณและบุคลากรจากหลายภาคส่วน อาทิ
เทศบาลเมืองเลย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเลย โรงพยาบาลเมืองเลย และ
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย
2) “เครือข่าย” มีภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินงาน ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายภาครัฐ
อาทิ โรงพยาบาลเลย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองเลย
ท้องถิ่นอำเภอเมืองเลย และสถานศึกษา เป็นต้น ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน อาทิ ห้างร้าน
ชมรมต่าง ๆ และมูลนิธิ เป็นต้น ภาคีเครือข่ายร่วมผนึกกำลังกันทั้งในเชิงองค์ความรู้
ประสบการณ์ และกำลังคนในการให้ความช่วยเหลือ
3) “ระบบการสื่อสาร” มีระบบการสื่อสาร 2 ทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการทำงาน ทั้งการสื่อสารจากผู้ให้บริการไปยังผู้รับบริการ และจากผู้รับบริการมายัง
ผู้ให้บริการ การสื่อสารมีหลายช่องทาง อาทิ ไลน์ (Line) โทรศัพท์สายตรงผู้บริหาร/
หมอครอบครัว/Care giver/Care manager เฟซบุ๊ก (Facebook) และสแกน QR Code
เป็นต้น
4) “ระบบการส่งต่อ” มีทีมประสานการส่งต่อข้อมูลการให้บริการ ทำให้เกิด
การช่วยเหลือประชาชน ผู้ป่วย และครอบครัวได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
โครงการใกล้บ้านห่วงใย ดูแลป่วยไข้ ใส่ใจทุกสิทธิ ประสบปัญหาและความท้าท้าย
ที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงมีอัตราส่วนไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้ที่มีภาวะ
พึ่งพิง และงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐไม่เพียงพอต่อการดูแลอย่างครอบคลุมในทุกมิติ
ดังนั้นเทศบาลเมืองเลยจึงแก้ไขปัญหาด้วยการจัดทำคู่มือการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง
ฉบับครอบครัว และพัฒนาหลักสูตรการอบรมระยะสั้นให้แก่ครอบครัวสำหรับการดูแลผู้ที่มี
ภาวะพึ่งพิง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง นอกจากนี้เพื่อแก้ไข
ข้อจำกัดด้านงบประมาณ เทศบาลเมืองเลยได้จัดตั้งกองทุนสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของ
จำเป็นสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง อาทิ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ นม และอาหารเสริม เป็นต้น รวมถึง
รับบริจาคอุปกรณ์จากหน่วยงานต่าง ๆ
การดำเนินโครงการนี้ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 95 ราย มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
โดยได้รับการดูแลที่รวดเร็วเพราะเป็นการดำเนินงานเชิงรุกโดยเครือข่ายในพื้นที่ และ
รางวัลพระปกเกล้า’ 66