Page 257 - kpiebook67015
P. 257
50
= ช่วยให้เด็กปกติคลายการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เด็กปกติได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ และพยายามทำสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นการช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งทำให้เด็ก
คำนึงประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้อื่น
= เด็กปกติได้เรียนรู้ที่จะยอมรับความสามารถและลักษณะเฉพาะของเด็กที่มี
ความต้องการพิเศษ รู้จักคิดถึงจิตใจคนอื่น เรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่น และเอาใจเขามาใส่ใจเรา
= ผู้ปกครองเกิดความพึงพอใจเมื่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถปฏิบัติกิจกรรม
ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น สามารช่วยเหลือตนเอง และได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
อย่างรอบด้าน
= ครูผู้สอนมีความเข้าใจและได้เรียนรู้ธรรมชาติของเด็กทุกกลุ่ม สามารถจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพกับทุกกลุ่มเป้าหมาย และตอบสนองความต้องการ
ของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง
= โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้และได้รับการยอมรับในการจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดและคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามได้ร่วมกัน
ดำเนินการถอดบทเรียนการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
ในการวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริหารท้องถิ่น วิทยากร
ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ประชุมสรุป
ผลการดำเนินงาน ทบทวนวัตถุประสงค์ แผนงาน และกระบวนการดำเนินงาน รวมถึงให้ข้อ
เสนอแนะเพื่อวางแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป การพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบ
เรียนร่วม นอกจากมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้สามารถ
เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและช่วยเหลือตนเองได้แล้ว ยังเกิดการต่อยอดเพื่อ
การแก้ปัญหาการอ่าน-เขียนของทั้งเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เกิดเป็น
นวัตกรรมคลินิกภาษาพัฒนาการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาด้านการอ่านของ
นักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ในห้องเรียน ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความสามารถและความพร้อม
ในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เด็กบางคนมีความบกพร่องทางด้านร่างกายและสติปัญญา
ขณะที่บางคนมีปัญหาทางด้านครอบครัว ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และ
ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ การดำเนินงาน
จึงได้จำลองสถานการณ์ห้องเรียนให้เปรียบเสมือนคลินิกรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับ
การอ่าน เช่น โรคพยัญชนะห่างหาย สระลืมเลือน ควบกล้ำทำพิษ และสะกดคำช้ำใจ
รางวัลพระปกเกล้า’ 66