Page 258 - kpiebook67015
P. 258

51


             เป็นต้น และมีคุณหมอ (ครู) เป็นผู้รักษาและให้คำแนะนำ คลินิกจัดให้มีบรรยากาศ
             เป็นแหล่งเรียนรู้ มีสื่อ และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเป็นยารักษาโรค ครูผู้สอนวิชา

             ภาษาไทยจะคัดกรองผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านเข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบคัดกรอง วินิจฉัยโรค
             จัดทำแฟ้มประวัติผู้ป่วย จัดตารางเข้าพบแพทย์ โดยแยกผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มตามอาการผู้ป่วย
             และเข้ารับการรักษา ดำเนินการแก้ปัญหาตามอาการ นัดหมายการเข้ารับการรักษาครั้งต่อไป
             และบันทึกพัฒนาการการรักษาในบัตรประจำตัวผู้ป่วย กล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก

             การจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วม

             โครงการพัฒนาโครงข่ายเศรษฐกิจรองรับเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ชุมชน

                   เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดมีพื้นที่ 11.63 ตารางกิโลเมตร มีประชากรกว่า 34,000 คน
             เป็นพื้นที่ราบสูง และถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
             ลักษณะภูมิประเทศได้มีการวางผังเมืองไว้อย่างสวยงาม คือ มีแนวคลองน้ำรอบเมืองและ

             กำแพงเมืองรอบตัวเมือง ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด แต่เนื่องจากปัจจุบันเมือง
             มีความเจริญมากขึ้น ทำให้ประชาชนในชนบทซึ่งมีฐานะยากจนอพยพเข้ามาหางานทำในเมือง
             มากขึ้น เกิดชุมชนแออัด (Slam) ในเขตเมือง และส่งผลกระทบให้มีปัญหาทางด้าน
             สุขอนามัย ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด และปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม

             ด้วยเหตุนี้เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดจึงดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนผู้บุกรุก
             และผู้ที่อพยพย้ายถิ่นฐาน เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น ปรับปรุงภูมิทัศน์
             ของเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมของเมืองให้มีความน่าอยู่ ร่มรื่น สวยงาม
             และมีเอกลักษณ์ และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของชาวร้อยเอ็ดโดย

             ภาพรวม เทศบาลเมมืองร้อยเอ็ดจึงดำเนินการย้ายชุมชนแออัด จัดระเบียบ สร้างอาคาร
             ที่บดบังสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และปรับปรุงฟื้นฟูแนวคูเมือง-กำแพงเมืองร้อยเอ็ด

                   ในปี พ.ศ. 2549 เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้ลงพื้นที่ชุมชนแออัดบริเวณคูเมือง-กำแพง
             เมืองร้อยเอ็ดและบริเวณชุมชนวัดเหนือ โดยลงพื้นที่ร่วมกับแกนนำชุมชนวัดเหนือ สถาบัน

             พัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ธนารักษ์พื้นที่ร้อยเอ็ด และกรมศิลปากร เพื่อจัดเก็บ
             ข้อมูลประชาชนผู้เดือดร้อนและด้อยโอกาส ผู้ที่มีฐานะยากจน และผู้ที่ประสบปัญหาด้าน
             ที่อยู่อาศัย จากนั้นจึงได้ดำเนินโครงการบ้านท้องถิ่นประชารัฐร่วมใจเพื่อผู้ยากไร้ในชุมชน
             แออัด เพื่อแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนกลุ่มนี้ได้มีคุณภาพ

             ชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยแล้วเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้ดำเนินการ
             ตามนโยบายของรัฐบาล โดยดำเนินโครงการเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก




                                                                             รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263