Page 255 - kpiebook67015
P. 255

8


                 คณะผู้บริหารของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและได้ตระหนักถึง
           ความสำคัญในการพัฒนาคนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยเพื่อให้คนในชุมชมท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดี

           ทุกด้านอย่างสมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่จำเป็นต้องได้รับโอกาส
           ทางการศึกษาอย่างเป็นปกติสุขและเติบโตอย่างมีคุณภาพตามความสามารถของแต่ละบุคคล
           ด้วยเหตุนี้เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดจึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับคณะครุศาสตร์
           มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในการพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วมตั้งแต่

           ปีการศึกษา พ.ศ. 2552 เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

                 หลังจากนั้นคณาจารย์สาขาการศึกษาพิเศษได้มาเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้ทั้งด้าน
           ทฤษฎี การฝึกปฏิบัติ การผลิตสื่อเพื่อเพิ่มทักษะและประสบการณ์ ตลอดจนนิเทศติดตาม
           การจัดการศึกษาพิเศษให้กับครูการศึกษาพิเศษสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จนครู

           เกิดความเชี่ยวชาญ และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้
           เด็กพิเศษมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมี
           ความสุข และสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้


                 การลงนามความร่วมมือในระยะแรกเป็นการประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาการ
           จัดการศึกษาพิเศษ และเพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ และมีรูปแบบที่หลากหลาย
           สามารถตอบสนองต่อความต้องการ ส่งเสริม และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ครอบคลุม
           ทุกกลุ่ม การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในระยะต่อมา (ระหว่างปีการศึกษา
           พ.ศ. 2563–2567) จึงเป็นการสนับสนุนความร่วมมือในการปฏิรูปการจัดการศึกษา

           ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นทั้งด้านการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตร
           การพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ
           ตามภารกิจของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ให้เข้าสู่มาตรฐานการศึกษาที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในการ

           พัฒนาคนและสังคมผ่านกระบวนการวิจัย ทั้งนี้สาระสำคัญในการลงนามความร่วมมือ
           ประกอบด้วย (1) การพัฒนาและบูรณาการองค์ความรู้งานวิชาการทุกสาขาวิชา
           (2) การอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรครูสู่การปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยอบรมเกี่ยวกับ
           การคัดกรองเด็ก 9 ประเภท และ IEP, IIP การแก้ไขปัญหาเด็กพิเศษ (การอ่าน การเขียน
           การคิดคำนวณ และการปรับพฤติกรรม) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (การอ่าน การเขียน และ

           การบูรณาการคณิตศาสตร์) (3) การผลิตสื่อนวัตกรรม และ (4) การพัฒนาห้องเรียน
           คู่ขนาน โดยมีการแต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษทุกโรงเรียน และ
           (5) การติดตามประเมินผลและระบบการช่วยเหลือดูแลนักเรียน





        รางวัลพระปกเกล้า’ 66
   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260