Page 120 - kpiebook67002
P. 120

115
               ต่อประชาชนในการเสนอร่างกฎหมายต่าง ๆ เพราะเกี่ยวพันกับประชาชนทั้งประเทศ  นอกจากนี้ยังมี
               รูปแบบอื่นอีก เช่น สื่อโซเซียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งทั้งรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาก็มีการสร้างบัญชีเพื่อขยายช่อง
               ทางการสื่อสารกับประชาชน รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการท างานของรัฐสภาในวงกว้างและสาธารณะ

               มากขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า รัฐสภาส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อวัตถุประสงค์ส าคัญสูงสุด 3 ประการ คือ

               1) การแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ด้านนิติบัญญัติ 2) การสร้างความรู้ความเข้าใจในระบบงานนิติบัญญัติ และ
               3) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 สื่อสังคมออนไลน์เริ่มเข้ามามีบทบาททดแทน

               การสื่อสารผ่านการกระจายภาพและเสียง และในพ.ศ. 2561 สื่อสังคมออนไลน์ได้กลายเป็นช่องทางสื่อสาร
               หลักที่เข้าถึงประชาชนได้มากกว่าช่องทางการกระจายภาพและเสียง โดยรัฐสภาหลายประเทศได้ยุติด าเนินการ

               ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียง และหันมาใช้ช่องทางสังคมออนไลน์มากกว่า เช่น Facebook Twitter Tiktok
               โดยช่องทางหลักที่ได้รับความนิยมคือ YouTube ซึ่งเป็นการสื่อสารผ่านการเผยแพร่วีดิทัศน์แบบออนไลน์

                                                                                         116
               นอกจากนี้สถานีโทรทัศน์รัฐสภาก็ยังเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมล าดับรองลงมาจากยูทูบ
                       อย่างไรก็ตามสื่อสังคมออนไลน์ได้กลายเป็นสื่อหลักในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในรัฐสภา

               ได้มากกว่าสื่อชนิดอื่น การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของรัฐสภาได้กลายเป็นเครื่องมือส าคัญในการสื่อสารกับ

               สาธารณชน และสร้างการมีส่วนร่วม แต่กลับพบว่า แม้รัฐสภาจะสร้างบัญชีในสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ
               ทั้ง Facebook Twitter Youtube Tiktok เป็นต้น แต่มีการเคลื่อนไหวในการอัพเดทข่าวสาร หรือกิจกรรม

               ที่เกิดขึ้นในรัฐสภาค่อนข้างน้อยทั้งนี้น่าจะมีเหตุผลที่การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของรัฐสภามีความล่าช้า เพราะ
                              (1) รัฐสภามีการปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ได้ช้าด้วยการเป็นสถาบันใหญ่ มีระบบการบริหารงานที่

               เป็นเฉพาะ และการปรับตัวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะสื่อสมัยใหม่ไม่ได้ถูกออกแบบมา

               เพียงแค่การเผยแพร่ข้อมูล แต่เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดการโต้ตอบสนทนาระหว่างผู้ใช้ที่มีความ
               หลากหลาย

                              (2) การเกิดขึ้นของเทคโนโลยี จ าเป็นที่รัฐสภาต้องใช้เวลาในการศึกษาท าความเข้าใจ และ
               จ าเป็นต้องน าประเด็นดังกล่าวเข้าหารือเพื่อน าไปสู่การหามติในการตัดสินใจใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่อง

               ทางการสื่อสาร

                              (3) รัฐสภาส่วนใหญ่โดยเฉพาะในประเทศก าลังพัฒนา มีความล้าหลังในเรื่องของเทคโนโลยี
               บุคลากร ทักษะ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จ าเป็นในการด าเนินการเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ จะเห็นได้ว่า

               เอกสารจ านวนมากของคณะกรรมาธิการ เช่น ญัตติ การลงคะแนนเสียง การด าเนินการต่าง ๆ เอกสารค าสั่ง




               115  Thomas Zittel, “Political Communication and Electronic Democracy: American Exceptionalism or
               Global Trend?” Comparing Political Communication: Theories, cases and challenges, Edited by Frank
               Esser and Barbara Pfetsch (New York : Cambridge University Press, 2004), pp. 231-250.
               116  คณะจัดท าเอกสารวิชาการด้านรัฐสภาศึกษา, การใช้ e-Parliament เพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวสู่การเป็น SMART
               Parliament, น. 1-25.




                                                           119
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125