Page 124 - kpiebook67002
P. 124
ของรัฐสภา หรืออาจมีการร่วมมือกับสถานศึกษา เพื่อเป็นการดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่และสามารถเข้าใจถึงความ
119
ต้องการของเยาวชนได้อย่างรวดเร็ว
5.2.3 การเข้าถึงของรัฐสภาและการมีส่วนร่วมของประชาชน
รัฐสภาควรมีกลยุทธ์ในการสื่อสาร และท าให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการท างานของรัฐสภา คือ
(1) ความชอบธรรมของรัฐสภาขึ้นอยู่กับการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในการเลือกตัวแทนของประชาชนเข้าไปท าหน้าที่ในรัฐสภา ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานภายใต้ระบบรัฐสภา ถ้าหาก
เมื่อใดที่ประชาชนเห็นว่าชีวิตพวกเขาไม่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา ท าไมต้องเลือกตั้ง นักการเลือกตั้งที่ถูกเลือกเข้าไป
ในรัฐสภาเข้าไปท าอะไร มีบทบาทอย่างไร มีแนวโน้มที่จะท าให้ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจทางการเมืองต่อ
รัฐสภาลดน้อยลง ดังนั้นจึงจ าเป็นที่รัฐสภาต้องปรับตัวและพัฒนาช่องทางการสื่อสาร เพื่อท าให้ประชาชน
120
เชื่อมั่นในการท างานของตัวแทนที่ถูกเลือกเข้าไป
(2) คุณภาพของกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากได้รับความ
คิดเห็นจากประชาชน มีมุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลายจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในช่องทางการ
สื่อสารที่รัฐสภาสร้างขึ้นมา หรือแม้กระทั่งบทบาทในการตรวจสอบการท างานของรัฐสภาเพื่อท าให้การท างาน
มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ประชาชนมากขึ้น ล้วนแล้วแต่ส่งผลเชิงบวกต่อร่างกฎหมายและนโยบาย อีกทั้ง
ท าให้รัฐบาลมีเป้าหมายชัดเจนในการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
(3) รัฐสภาที่ดีต้องมีการเชื่อมโยงกับประชาชนและสามารถตอบสนองต่อข้อกังวลของ
ประชาชนได้ คือ การได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ต้องท าให้ประชาชนเข้าใจในบทบาทของรัฐสภาใน
ฐานะเป็นตัวแทนของประชาชน และเข้ามาเพื่อสนับสนุนสิทธิของประชาชน
(4) การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นการยกระดับการสื่อสาร จากทางเดียวเป็นสองทาง มีการ
พูดคุยโต้ตอบระหว่างประชาชนกับรัฐสภา ถือว่าเป็นการยกระดับการท างานของรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น สื่อสังคมออนไลน์ท าให้การสื่อสารของรัฐสภาเปลี่ยนจากบนลงล่าง เป็นจากล่างขึ้นสู่บน มีการรับข้อมูล
จากประชาชน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และมีการปกป้องผู้ให้ข้อมูลด้วยเช่นกัน ดังนั้นรัฐสภาควรมีการพัฒนา
และเคลื่อนไหวในสื่อสังคมออนไลน์อยู่เสมอ
(5) รัฐสภาสามารถสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนได้ผ่านช่องทางการสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพ รัฐสภาที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และ
บริบททางสังคม มีการน าเสนอข้อมูลอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อท าให้เกิดความไว้วางใจจากประชาชน
ด้วยการที่รัฐสภามีความรับผิดชอบต่อสังคม จะท าให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างประชาชนและ
รัฐสภา เพื่อช่วยกันพัฒนาประสิทธิภาพการท างานของรัฐสภา สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือที่ส าคัญใน
ปัจจุบันในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน บัญชีโซเซียลมีเดียต่าง ๆ ที่รัฐสภาสร้างขึ้นจะท าให้เกิดการส่ง
119 Beverly Duffy and Madeleine Foley, “Social media, community engagement and perceptions of
parliament : a case study from the NSW Legislative Council,” pp. 198-206.
120 สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
123