Page 117 - kpiebook67002
P. 117

บทที่ 5

                           แนวทางในการพัฒนาการท างานของรัฐสภาในฐานะตัวแทนประชาชน


                       จากการส ารวจรูปแบบ เนื้อหาของรัฐสภาในการใช้ช่องทางการสื่อสารสาธารณะต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบ

               ดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือช่องทางการสื่อสารสมัยใหม่ ในรูปแบบออนไลน์ ทั้งการใช้
               สื่อโซเซียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์เดียวกันเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และโต้ตอบ

               กับประชาชน รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการประเมินการท างานและกระบวนการ  ต่าง ๆ ที่
               เกิดขึ้นภายในรัฐสภา เพื่อน าความคิดเห็นของประชาชนเหล่านั้นไปสู่การพัฒนารูปแบบการท างานของรัฐสภา

               สมาชิกรัฐสภา และความปรารถนาที่จะเห็นรัฐสภาในฐานะตัวแทนของประชาชนมีรูปแบบเช่นไรโดยการอาศัย

               ช่องทางการสื่อสารที่รัฐสภาสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างรัฐสภาและประชาชน ที่จะพัฒนาการท างาน
               ของรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


               5.1 บทสรุป

                       ช่องทางการสื่อสาร คือ สื่อกลางในการแสดงออกหรือตัวกลางในการสื่อสารระหว่างรัฐสภาและ
               ประชาชนเพื่อให้รับรู้วิธีการท างานของรัฐสภาในทุกกิจกรรมทั้งการออกกฎหมายและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

               ในรัฐสภา ส่วนรัฐสภา หมายถึง สถาบันทางการเมืองที่ท าหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ สมาชิกรัฐสภามาจาก

               การเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ในค.ศ. 2012 มีการส ารวจ พบว่าระบบรัฐสภาได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
               จากเดิม 190 ประเทศ เพิ่มเป็น 193 ประเทศที่สหประชาชาติรับรองให้เป็นรัฐอธิปไตยที่มีรัฐสภาท าหน้าที่

               ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ การมีอยู่ของรัฐสภาไม่ได้หมายความว่าประเทศนั้นจะเป็นประชาธิปไตย แต่อย่างไรก็
               ตามรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยถูกมองว่าเป็นศูนย์รวมของเจตจ านงของผู้คน โดยมีข้อเสนอว่าเพื่อให้

               รัฐสภาเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนั้นจะต้องมีตัวแทนประชาชน ที่สามารถเข้าถึงได้ มีความรับผิดชอบ

                                                                                              114
               และมีประสิทธิภาพในการท างาน ซึ่งทั้งหมดคือเรื่องพื้นฐานของการสร้างการมีส่วนร่วมในรัฐสภา
                       การส ารวจรูปแบบการมีส่วนร่วมของสาธารณะในปัจจุบันของรัฐสภาไทย เช่น สถานีวิทยุรัฐสภา

               สถานีโทรทัศน์รัฐสภา ช่องแสดงความคิดเห็น เว็บไซต์ของรัฐสภา หรือสื่อสังคมออนไลน์ ทั้ง Facebook
               Twitter Instagram TikTok blog Youtube เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นบัญชีที่รัฐสภาสร้างขึ้นมาเพื่อเผยแพร่

               ข่าวสาร และติดต่อกับประชาชน ท าให้การมีส่วนร่วมของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างเท่าตัว ถึงแม้ว่าโซเซียลมีเดีย
               จะไม่สามารถตอบโจทย์การมีส่วนร่วมของประชาชนได้ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามท าให้เกิดการมีส่วนร่วมของ

               ประชาชนเพิ่มมากขึ้นกว่าสื่อในรูปแบบเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการกระจายข้อมูลของรัฐสภาเอง
               ด้วย ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์มีความเหมาะสมในการสนับสนุนการให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจ รวมถึงการสร้าง

               ความรู้สึกร่วมและความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการมีส่วนร่วมที่แท้จริงในระบอบ




               114  Ukera Seungwa Emmanuel, “Seminar topic Reaching out: Parliament, Social media, and public
               engagement,” Course title: Parliament in the modern world: Contemporary Issues, Postgraduate School,
               Abuja, University of Benin (6 June 2019).


                                                           116
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122