Page 306 - kpiebook66030
P. 306

สรุปการประชุมวิชาการ
     2   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


                 ประการที่สาม ความเป็นพลวัต (dynamism) จากการประชุมวิชาการทั้งสองวันมานี้
           จะเห็นว่า วิกฤตและความเปลี่ยนแปลงมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน สถานการณ์เปลี่ยนแปลง
           ทุกวัน และทำให้ทุกสิ่งเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การจัดการในช่วง COVID-19 เป็นการจัดการ
           บนความไม่รู้ ความคลุมเครือ ความไม่แน่นอน แต่การจะทำให้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนนั้นดีขึ้น

           คือ การมีข้อมูลข่าวสาร (data) หลักวิชาจะช่วยลดความเสี่ยงของความเป็นพลวัต และ
           ช่วยทำให้เราสามารถปรับตัวได้เร็ว

                 ฉะนั้น ระหว่าง traditional และ non-traditional security เราคงไม่คิดว่าจะมีสงคราม
           แบบยึดเมืองเกิดขึ้นอีก แต่วันนี้เกิดขึ้นแล้ว และนำไปสู่ความไม่เสถียรหรือความท้าทายของ

           non-traditional security เช่น พลังงาน อาหาร เมื่อใดก็ตามที่มีภาวะสงครามจะทำให้เกิด
           ความขาดแคลน แต่สงครามยูเครนครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะประเทศคู่สงครามเท่านั้น
           แต่กำลังส่งผลกระทบทั้งโลก


                 เราจะมีแนวทางสนองตอบความท้าทายเหล่านี้ได้อย่างไร ภายใต้การปกครองของแต่ละ
           ประเทศย่อมมีวิธีการไม่เหมือนกัน เช่น จีน ประเทศในยุโรป สหรัฐอเมริกา ต่างก็มีวิธีการตาม
           ระบอบการปกครองของตัวเอง สำหรับประเทศไทย ต้องทำให้สังคมนี้ยึดมั่นในคุณค่าหลัก
           (core value) ของประชาธิปไตย ทำให้คนในสังคมนี้เชื่อเรื่องอธิปไตยเป็นของปวงชน เชื่อว่า

           อำนาจเป็นของประชาชน หากเชื่อเช่นนี้ หมายความว่าเสียงทุกเสียงที่ออกมา เป็นเสียงของ
           เจ้าของอำนาจ แม้ว่าเป็นเสียงของคนส่วนน้อย ผู้มีอำนาจรัฐต้องฟังอย่างได้ยิน ไม่ใช่ฟังเพื่อฟัง
           แม้ว่ากระบวนการและกลไกของเสียงของเจ้าของอำนาจย่อมมีความแตกต่าง แต่สิ่งสำคัญคือ
           ประชาชนได้แสดงออกและถูกนำมาวางไว้บนโต๊ะเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา


                 คนในสังคมนี้ต้องคิดและทำเพื่อส่วนรวมมากขึ้น เมื่อเรากล่าวถึงเรื่องความมั่นคงหรือ
           คุณค่าที่เราปรารถนา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ คุณค่าที่ปรารถนาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และ
           คุณค่าที่ปรารถนาเพื่อประโยชน์ตนเอง ในสังคมประชาธิปไตยต้องคำนึงถึงเรื่องส่วนรวมด้วย
           ไม่ใช่เพียงคิดเรื่องของตัวเอง


                 ความยุติธรรม อย่างน้อยในสังคมนี้ หลักความยุติธรรมต้องเป็นหลักการสำคัญที่ทำให้
           ทุกคนมั่นใจว่า เราจะอยู่ได้อย่างเท่าเทียมบนหลักนิติรัฐ ถ้าเราไม่เชื่อในหลักนิติรัฐ
           หลักกฎหมาย กระบวนการตรวจสอบ ความเป็นอิสระ จะทำให้หลักนิติรัฐสั่นคลอน


                 เสรีภาพ ประชาธิปไตยเป็นระบบเปิดที่จะมีเสรีภาพ แต่เป็นเสรีภาพที่มีขอบเขต
    สาระส้าคัญการแสดงปาฐกถาปิด    ไม่ไปก้าวล่วง และไม่ละเมิดต่อเสรีภาพและสิทธิของคนอื่น


                 ความเท่าเทียม สังคมต้องคำนึงถึงเรื่องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างจริงจัง สังคมต้องยอมรับ
           ความหลากหลายว่าความหลากหลายเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง เป็นความงดงามของระบอบ

           ประชาธิปไตย สังคมประชาธิปไตยไม่ได้หมายความว่าเป็นสังคมเลือกตั้ง สังคมประชาธิปไตย
           คือ สังคมที่คนเห็นต่างพูดได้ แสดงเหตุผลได้ เคารพในเหตุผลซึ่งกันและกัน เคารพใน
   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311