Page 307 - kpiebook66030
P. 307
สรุปการประชุมวิชาการ 2
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
การตัดสินใจว่าเมื่อเรื่องนี้เป็นข้อยุติก็ต้องเคารพ ดังนั้น เสรีภาพจึงไม่ใช่ทุกอย่าง แต่เป็น
เสรีภาพที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม
สัจจะ (truth) การเมืองต้องพูดความจริง นักการเมือง ข้าราชการ นักวิชาการต้องพูด
ความจริงเช่นกัน เมื่อใดก็ตามที่ทำให้สังคมนี้อยู่ด้วยสัจจะ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ความไว้วางใจ
(trust) ในกระบวนการประชาธิปไตย ปฏิสัมพันธ์การกระทำทุกอย่างต้องนำไปสู่ความสุข
ไม่ใช่รวยแต่ไม่สุข ปฐมบรมราชโองการของรัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านตรัสว่า เราจะครองแผ่น
ดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม หมายความว่า มีแต่ประโยชน์แต่ไม่มี
ความสุข ไม่มีประโยชน์ สุดท้ายสังคมประชาธิปไตยต้องมีความรู้สึกรักบ้านเกิดเมืองนอน
รักชุมชน ท้องถิ่น จนถึงประเทศชาติ
เราต้องการสร้างระบบกลไกของการบริหารประเทศที่ตอบโจทย์ได้ สิ่งเหล่านี้ได้มีการพูด
ถึงในการประชุมครั้งนี้ สิ่งที่สำคัญมากคือ รัฐบาลที่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ (well-
functioning) และมีภาครัฐที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว (adaptive sector) เราต้องการ
สิ่งที่เรียกว่ากระบวนการ PPPP หรือ Participation Public Policy Process ซึ่งเป็น
กระบวนการจัดทำนโยบายที่มีการรับฟังการมีส่วนร่วมของคนที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าอาจจะไม่เกิด
การเห็นพ้องต้องกัน แต่ในสังคมประชาธิปไตยที่มีความหลากหลาย เราต้องเคารพกติกาว่า
เราเลือกวิธีการอย่างไรในการตัดสินบนความแตกต่าง เมื่อมีข้อยุติแล้วเราจะเคารพหรือไม่
เราต้องการสิ่งที่เรียกว่าการเสริมพลังของภาคประชาชนให้เป็นเจ้าของอำนาจ (empowerment
citizenship) ใช้อำนาจอย่างมีคุณภาพ ให้มีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสถาบันพระปกเกล้า
ก็พยายามทำเรื่องนี้ค่อนข้างมาก
เราต้องการสิ่งที่เรียกว่า การกระจายอำนาจไปที่พื้นที่ (decentralization) บทพิสูจน์
ชัดเจนว่า การมี “เลนส์” ที่ละเอียดขึ้น การมีพื้นที่ที่ชัดเจนขึ้น จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาได้ดี
ขึ้น ดังนั้น หลักคิดสำคัญของการบริหารประเทศจึงต้องกลับไปพูดเรื่องการเอาอำนาจไปไว้ใน
พื้นที่ และให้คนในพื้นที่จัดการกันเอง เราต้องการการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นการมี
ส่วนร่วมที่ทำแล้วเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
เราต้องการสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย (enable environment) และสิ่งสำคัญที่สุดคือ
ระบบกฎหมาย เราต้องการการปฏิรูปกฎหมาย ตามที่ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์
เสถียรไทย ก็ได้กล่าวถึงการปฏิรูปกฎหมาย การปฏิรูประบบราชการ และสุดท้าย เราต้อง
ร่วมกันสร้างสิ่งที่เรียกว่า ความไว้วางใจของคนส่วนรวม (public trust) ซึ่งเกิดได้จาก 2 ส่วน
ได้แก่ ความโปร่งใส และหลักความรับผิดชอบ เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถตรวจสอบได้ว่า
ความผิดพลาดนี้เกิดจากจุดใด นั่นคือการสะท้อนให้เห็นถึงจุดที่ต้องรับผิดชอบ เมื่อใดก็ตามที่
เราปล่อยให้มีการเปิดเผยตรวจสอบได้ หมายความว่า เรากำลังใช้หลักความโปร่งใส สาระส้าคัญการแสดงปาฐกถาปิด