Page 301 - kpiebook66030
P. 301
2 1
การแสดงปาฐกถาปิด
การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24 ประจำปี 2565
ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย
การประชุมวิชาการประจำปีของสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24 ตลอดระยะเวลา 3 วัน
ที่ผ่านมา มีการพูดถึงเรื่องความมั่นคงในแง่มุมที่หลากหลาย หากเราจะมองไปข้างหน้า ความ
ท้าทายของความมั่นคงใหม่ของประชาธิปไตยไทยควรจะเป็นอย่างไร เริ่มต้นจากความหมาย
ของความมั่นคง ในความเป็นจริงเรื่องความมั่นคงไม่ใช่เรื่องใหม่ คำว่า “ความมั่นคง”
(security) เป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1952 ประมาณ 70 ปีมาแล้ว โดย Arnold
Wolfers ได้นิยามความมั่นคงไว้อย่างน่าสนใจว่า ความมั่นคง คือ การปราศจากซึ่งภัยคุกคาม
ต่อคุณค่าที่มีมา ซึ่ง “คุณค่าที่มีมา” (acquired value) หมายถึง คุณประโยชน์
สิ่งที่ปรารถนาของมวลมนุษย์ ดังนั้น เมื่อใดตามที่สิ่งที่เราต้องการไม่มีภัยคุกคาม นั่นคือ
ความมั่นคง ความมั่นคงจึงเป็นการบรรเทาความเป็นไปได้ของความเสียหายที่จะมีต่อคุณค่า
เป็นการหามาตรการเชิงป้องกันที่จะไม่ให้ความมั่นคงนั้นได้รับผลกระทบ สอดคล้องกับคำกล่าว
ของศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ที่กล่าวถึงความหมายของความมั่นคงว่า
freedom from fear, freedom from want เป็นเสรีภาพหรือปราศจากซึ่งความกลัวและ
ความต้องการ หากความมั่นคงเป็นการลดทอนภัยคุกคามและพยายามรักษาสิ่งที่เป็นคุณค่า
ที่เราต้องการ คำถามที่สำคัญคือ คุณค่าที่มีมา คืออะไร
ในอดีตเมื่อพูดถึงเรื่องความมั่นคง มักจะพูดถึงความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงของ
อาณาบริเวณ บูรณภาพแห่งดินแดน ความมั่นคงของอธิปไตย เรียกความมั่นคงประเภทนี้ว่า
เป็นความมั่นคงแห่งชาติ (national security) ความมั่นคงแบบดั้งเดิมคือ การป้องกันประเทศ
แต่ทุกวันนี้ความมั่นคงแบบใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับความสนใจมากขึ้น
เรื่อย ๆ เช่นกัน เรียกว่า non-traditional security เป็นความมั่นคงที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม แต่เป็น
ความมั่งคงสำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ที่ทำให้ประชาชนในสังคมนั้นสามารถรักษาคุณค่า
ที่เขาปรารถนาอยู่ได้ ลดทอนโอกาสและความเสี่ยงที่จะทำให้คุณค่าของเขาถูกทำลายลง ดังนั้น