Page 263 - kpiebook66030
P. 263

สรุปการประชุมวิชาการ   2
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             แก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินงาน และร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติ
             งาน ทั้งนี้ ต้องมีความพยายามในการแสวงหาฉันทามติหรือข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มี
             ส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจะต้องไม่มีข้อคัดค้าน
             ที่หาข้อยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ


                     3.2 การกระจายอำนาจ (Decentralization) หมายถึง มีการมอบอำนาจและ
             กระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ได้
             อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการโอนถ่ายบทบาทและภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ
             ภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม


                4.  ความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility)

                     ประกอบด้วย

                     4.1 คุณธรรม/จริยธรรม (Morality/Ethics) หมายถึง การมีจิตสำนึกความรับผิดชอบ

             ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีศีลธรรม คุณธรรม และตรงตามความคาดหวังของสังคม
             รวมทั้งยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและ
             เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประมวลจริยธรรมข้าราชการ จรรยาบรรณวิชาชีพ ตลอดจนคุณลักษณะ

             ที่พึงประสงค์ของระบบราชการไทย

                         อนึ่ง การใช้หลักธรรมาภิบาลในการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาอาชีพในชุมชน
             ได้มีผู้ที่ใช้แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ค่านิยมประชาธิปไตย แนวคิดประชารัฐ
             และความรับผิดชอบทางการบริหาร อยู่จำนวนไม่น้อย ดังเช่น งานวิจัยของ สคราญนิตย์

             เล็กสุทธิ์ และพงค์ศิริ ปิตุรัตน์เจริญกุล (2563) ที่ศึกษาการพัฒนารูปแบบการตลาดเกษตร
             อินทรีย์ของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดลำพูนเพื่อศึกษาปัญหา ศักยภาพของเกษตรกร
             และสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดลำพูน หาแนวทางการ จัดการตลาดที่เหมาะสม
             ประเมินประเภทตลาดเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมกับบริบทและศักยภาพของเกษตรกร
             ในเครือข่ายฯ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้บริโภค

             เขตพื้นที่จังหวัดลำพูน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร
             การสัมภาษณ์ และการจัดเวทีเสวนาระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนารูปแบบการตลาดเกษตร
             อินทรีย์ที่เหมาะสม ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการตลาดเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสม คือ การจัดทำ

             ตลาดนัดเพื่อจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ต่าง ๆ ในแต่ละอำเภอ จัดทำตลาดซื้อขาย
             สินค้าแบบออนไลน์ และสนับสนุนให้แต่ละพื้นที่มีร้านอาหารอินทรีย์หรือเมนูอาหารอินทรีย์
             ประจำท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรอินทรีย์โดยการสร้างเรื่องราว (Story) ให้กับ
             ตัวสินค้า ขยายช่องทางการตลาดไปสู่โรงเรียน โรงพยาบาล ธุรกิจโรงแรม ภัตตาหาร จัดให้มี
             การรวมหุ้นของสมาชิกเครือข่ายฯ สร้างเครือข่ายการตลาดต่างพื้นที่ ต่างภูมิภาค และการจัดทำ    บทความที่ผ่านการพิจารณา

             การท่องเที่ยววิถีเกษตรอินทรีย์ งานวิจัยดังกล่าวแม้จะมีความครบถ้วนสมบูรณ์ในกระบวนการ
   258   259   260   261   262   263   264   265   266   267   268