Page 264 - kpiebook66030
P. 264

สรุปการประชุมวิชาการ
     2   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           และผลการวิจัย หากแต่ยังเจาะจงเพียงมุมมองของเกษตรกรและผู้บริโภค จึงยังไม่อาจ
           ตอบคำถามในส่วนของที่มาที่ไปของการเลือกพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์หลักที่มุ่งเน้น
           พันธมิตรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ตลอดจนต้นทุนการดำเนินการทั้งหมดเพื่อการคำนวณ
           งบประมาณอย่างมั่นคงยั่งยืน


                 นอกจากหลักธรรมาภิบาลแล้ว อีกแนวคิดหนึ่งที่กล่าวถึงการรับฟังทุกเสียงของประชาชน
           ไม่ใช่เพียงการรับฟังเสียงข้างมากหรือการแสวงหาฉันทามติที่เป็นไปได้ยากในสังคมแห่ง
           ความขัดแย้ง ประชาธิปไตยเชิงลึก (Deep Democracy) เป็นแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่บน
           พื้นฐานการตระหนักรู้ทุกเสียงสะท้อนของตัวตนภายในมากกว่าการฟังเพียงเสียงส่วนใหญ่

           แนวคิดนี้พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีจิตวิทยาวิเคราะห์ (Analytical Psychology) ของ Carl G.
           Jung ที่เน้นเสียงสี่ด้านของตัวตน คือ 1) ความคิด ตรรกะ เหตุผล ข้อเท็จจริง 2) ความรู้สึก
           และปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 3) การรับสัมผัส รายละเอียด การวางแผน การจัดระบบ และ

           4) การหยั่งรู้ วิสัยทัศน์ การสังเคราะห์ การส่งมอบคุณค่าภายใต้ความจริงสามระดับ คือ
           ความจริงเห็นพ้องในระดับสังคม ความจริงเหมือนฝันในระดับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ
           ความจริงแก่นแท้ในระดับตัวตนภายในตัวบุคคลที่เชื่อมโยงกับสำนึกร่วมของชุมชน (Mindell A.
           and Mindell A., n.d.; ชาญชัย ชัยสุขโกศล และอัจฉรีย์ อําไพกิจพาณิชย์, 2563; สถาบัน
           พระปกเกล้า, 9 กุมภาพันธ์ 2565)


                 การพัฒนาสังคมที่เน้นสำนึกร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ
           ทุนทางสังคม อันประกอบด้วย ทุนมนุษย์ ทุนสถาบัน ทุนปัญญา ทุนวัฒนธรรม รวมทั้งทุน
           ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสำรวจทุนทางสังคม

           ได้แก่ การทำแผนที่ชุมชน (Community Mapping) โดยผู้ที่เป็นสมาชิกของชุมชนนั้น เพื่อนำมา
           ต่อยอดเป็นแนวทางการพัฒนาบนพื้นฐานข้อเท็จจริง ดังปรากฏในงานวิจัยและคลังความรู้ของ
           เครือข่ายตำบลสุขภาวะ ที่ศึกษาสภาพทุนทางสังคมและปัญหาอุปสรรคในท้องถิ่นเพื่อนำไป
           เขียนเป็นแผนที่ชุมชนเพื่อพัฒนาบนพื้นฐานความเป็นจริง (สุพัตรา คงขำ, 2561; สำนัก

           สนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2564)

                 การประกอบสร้างแบบจำลองธุรกิจที่สืบเนื่องจากกระบวนการทำแผนที่ชุมชน จึงเป็น
           การสร้างความตระหนักถึงจิตสำนึกร่วมของคนในพื้นที่ ทั้งในด้านความคิด ความรู้สึก การรับ
           สัมผัส และการหยั่งรู้โอกาสในการพัฒนา ซึ่งสามารถนำไปสู่ความเป็นเอกฉันท์ของแนวทาง

           การสร้างความมั่นคงของสังคมในระดับชุมชนได้ในที่สุด
    บทความที่ผ่านการพิจารณา   นิยามศัพท์เฉพาะ (Specific Definitions)




                 เสียง (Voices) ในบทความวิจัยนี้ นอกจากจะหมายถึงการใช้สิทธิ์ออกเสียงตามหลัก
           ประชาธิปไตยทั่วไปซึ่งเป็นความจริงเห็นพ้องในระดับสังคม ยังหมายถึงเสียงในความจริงเหมือน
           ฝันที่สังเกตได้ในกระบวนการกลุ่ม รวมทั้งเสียงตัวตนซึ่งสะท้อนความคิด ความรู้สึก การรับ
   259   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269