Page 265 - kpiebook66030
P. 265
สรุปการประชุมวิชาการ 2
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
สัมผัส การหยั่งรู้ ของแต่ละบุคคลที่แสดงออกมาในระหว่างการฝึกเขียนแบบจำลองธุรกิจจาก
แผนที่ชุมชน
แผนที่ชุมชน (Community Map) หมายถึง แผนที่แสดงจุดแข็ง จุดอ่อน และทุนทาง
สังคม ซึ่งเขียนผ่านการระดมความคิดจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่
ที่ปรากฏในแผนที่นั้น
แบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas: BMC) หมายถึง แม่แบบ (template)
ที่ช่วยในการออกแบบธุรกิจ ซึ่งมีองค์ประกอบเก้าประการสำหรับเขียนลงในเก้าช่อง ดังนี้
1) กลุ่มเป้าหมาย 2) คุณค่าของงานที่ส่งมอบต่อสังคม 3) ช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
4) ความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย 5) รายได้หลัก 6) ทรัพยากรหลัก 7) กิจกรรมหลัก
8) พันธมิตร 9) โครงสร้างต้นทุน
วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology)
ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบ
มีส่วนร่วม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 80 คนจากทุกภาคส่วนในพื้นที่รับผิดชอบของ
เทศบาลตำบลหาดกรวด จังหวัดอุตรดิตถ์ เครื่องมือหลักที่ใช้ในการวิจัยเป็นบันทึกกิจกรรมการ
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนที่ชุมชนและแบบจำลองธุรกิจ (BMC) ระยะเวลาดำเนินการ
วิจัยตลอดเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย ดังนี้
1. คณะผู้วิจัยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับตำบลหาดกรวดเป็นข้อมูลพื้นฐาน
2. ลงพื้นที่ทุกหมู่บ้านและพูดคุยกับสมาชิกสภาเทศบาลแต่ละเขต ผู้บริหาร ข้าราชการ
และประชาชนที่สมัครใจพูดคุยและบอกเล่าเรื่องราวในตำบล โดยมีประเด็นการพูดคุยคือ
จุดแข็ง จุดอ่อน และทุนทางสังคมในมุมมองของแต่ละคน เพื่อเป็นข้อมูลเบี้องต้นใน
การสังเกตการณ์การเขียนแผนที่ชุมชน
3. คณะผู้วิจัยเข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ธรรมาภิบาลในการบริหาร
พัฒนา” และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การประยุกต์ Business Model Canvas
ในการจัดทำโครงการพัฒนาสังคม” ระหว่างวันที่ 19 – 20 สิงหาคม 2565 ณ สำนักงาน
เทศบาลตำบลหาดกรวด พร้อมจดบันทึกประเด็นที่พบเห็นในการจัดทำแผนที่ชุมชน
ความเข้าใจเรื่องธรรมาภิบาลในการพัฒนา และการเขียนแบบจำลองธุรกิจ ในลักษณะของ
การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม
4. ตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล (Credibility) โดยใช้สามเส้าของข้อมูล (Data
Triangulation) คือ ความสอดคล้องกันระหว่างข้อมูลจากเอกสาร จากการสัมภาษณ์ และ บทความที่ผ่านการพิจารณา
การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม