Page 260 - kpiebook66030
P. 260

สรุปการประชุมวิชาการ
     2 0 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


                         พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 มาตรา 50
                    วรรคสอง กำหนดว่า การปฏิบัติงานตามหน้าที่ของเทศบาล ต้องเป็นไป
                    เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
                    และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนา

                    เทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมิน
                    ผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตาม
                    กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการ

                    ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

                                                     (สุริยา อินจ่าย, 8 มิถุนายน 2564)

                 จากคำแถลงนโยบายดังกล่าว ธรรมาภิบาลและการฟังเสียงประชาชนที่ปฏิบัติควบคู่
           ไปด้วยกัน สอดคล้องกับแนวคิดเชิงจิตวิทยาประการหนึ่ง คือ ประชาธิปไตยเชิงลึก (Deep

           Democracy) อันเป็นประชาธิปไตยที่ใส่ใจทุกเสียงในความจริงสามระดับ ได้แก่ 1. ความจริง
           เห็นพ้อง (Consensus Reality) ที่เป็นกฏ ขนบ ระเบียบในระดับสังคม 2. ความจริงเหมือน
           ฝัน (Dream-like Reality or Dreamland) ที่ปรากฏในปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ
           3. ความจริงแก่นแท้ (Essence Reality or The Essence level) คือ สภาวะที่ทุกขั้ว

           ความขัดแย้งคลี่คลายกลายเป็นความเห็นอกเห็นใจ สามารถมองเห็นทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
           ผ่านการตระหนักรู้ในระดับตัวตนและสำนึกร่วมของชุมชน (Mindell A. and Mindell A.,
           n.d.; ชาญชัย ชัยสุขโกศล และอัจฉรีย์ อําไพกิจพาณิชย์, 2563; สถาบันพระปกเกล้า,
           9 กุมภาพันธ์ 2565)


                 ข้อมูลบันทึกเอกสารการปฏิบัติงานในรอบหนึ่งปีหลังแถลงนโยบาย “ธรรมาภิบาล
           และการฟังเสียงประชาชน” เทศบาลตำบลหาดกรวดมีการจัดตั้งศูนย์ให้บริการเบ็ดเสร็จ
           ณ จุดเดียว (One-Stop Service: OSS) เพื่อเป็นช่องทางการรับเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียนและ
           การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน จำนวน 3,955

           เรื่องต่อปี โดยมีการแก้ไขปัญหาได้มากกว่าร้อยละ 98 ของการร้องเรียน (สำนักปลัดเทศบาล
           ตำบลหาดกรวด, 2565) และมีนโยบายพัฒนาเชิงรุก ด้วยการเปิดเวทีเขียนแบบจำลองธุรกิจ
           จากการจัดทำแผนที่ชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของฝ่ายบริหาร สภาเทศบาล ข้าราชการ ลูกจ้าง
           และประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆ จากทุกหมู่บ้าน


                 คณะผู้วิจัยได้มีโอกาสลงพื้นที่ร่วมกับตัวแทนหมู่บ้าน และเข้าร่วมสังเกตการณ์
    บทความที่ผ่านการพิจารณา   อย่างมีส่วนร่วมในการอบรมและการปฏิบัติหน้าที่บนพื้นฐานประชาธิปไตยเชิงลึกที่รับฟังทั้ง

           เสียงส่วนใหญ่ เสียงที่แตกต่าง และเสียงของตัวตนที่มีจิตสำนึกร่วมของประชาชน จึงสรุป

           เป็นบทความวิจัยจากเอกสาร บันทึกต่าง ๆ  การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ในการถอดบทเรียน
           ประชาธิปไตยเชิงลึกจากแผนที่ชุมชนสู่แบบจำลองธุรกิจตำบลหาดกรวด เพื่อสะท้อนแนวคิด
   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265