Page 259 - kpiebook66030
P. 259
สรุปการประชุมวิชาการ 2
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
บทนำ (Introduction)
ภาวะสังคมไทยในปัจจุบัน ประสบปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติและ
ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนในหลากหลายมิติ ทั้งจากจำนวนประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ว่างงานกว่า
5.5 แสนคน การจ้างงานลดลงในภาคเกษตรกรรม ก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร ภาวะ
ค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 6.5 ในไตรมาสสอง
ปี 2565 ทำให้ค่าจ้างที่แท้จริงหดตัว โดยเฉพาะแรงงานที่มีการศึกษาต่ำ หนี้สินครัวเรือน
ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง การมีความมั่นคงทางด้านปริมาณอาหารอย่างเพียงพอ หากแต่ต้อง
เผชิญประเด็นท้าทายด้านความปลอดภัยของอาหารและกำลังการผลิตของเกษตรกรลดลง
(สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 26 สิงหาคม 2565)
การพัฒนาสังคมภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง นอกจากจะเน้นการบริหาร
จัดการสภาพแวดล้อมให้มั่นคงปลอดภัยในระดับชาติ ระดับสังคม และระดับชุมชนด้วย
เครื่องมือและเทคโนโลยีแล้ว การพัฒนาคนและระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ก็เป็นสิ่งสำคัญ
ในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคตผ่านกลไกการแก้ปัญหา
แบบบูรณาการทุกภาคส่วนบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ, ม.ป.ป.)
หลักธรรมาภิบาลที่สำคัญประการหนึ่ง คือ หลักกระจายอำนาจ (Decentralization)
ซึ่งหมายถึง การมอบอำนาจและกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการ
ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการโอนถ่ายบทบาทและภารกิจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม การกระจายอํานาจเป็นเครื่องมือ
สําคัญที่จะทําให้รัฐสามารถจัดบริการสาธารณะได้อย่างทั่วถึง และตรงกับความต้องการ
ของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้น หากประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มกระบวนการตัดสินใจใน
การดําเนินการต่างๆ ของท้องถิ่นแล้ว จะทําให้บริการสาธารณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น
สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นมากที่สุด (สำนักงานคณะกรรมการ
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ม.ป.ป.)
เทศบาลตำบลหาดกรวด เป็นเทศบาลที่เน้นการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลตั้งแต่
ระดับนโยบาย ซึ่งปรากฏเป็นส่วนสำคัญของคำแถลงนโยบายของนายกเทศมนตรีต่อ
สภาเทศบาล โดยระบุว่า
นโยบายที่ผมใช้เป็นหลักในการบริหาร คือ “ธรรมาภิบาลและ
การฟังเสียงประชาชน” อันเป็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอน
การปฏิบัติงาน การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการ บทความที่ผ่านการพิจารณา
ของประชาชน