Page 270 - kpiebook66030
P. 270
สรุปการประชุมวิชาการ
2 0 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
จากแบบจำลองธุรกิจของขนมสุขภาพจากการวิเคราะห์แผนที่ชุมชน กลุ่มตัวแทน
ชุมชนได้ตัดสินใจเลือกใช้วัตถุดิบหลักจากสวนเกษตรอินทรีย์ซึ่งไม่ผ่านการใช้สารเคมีและ
ปุ๋ยเคมี แหล่งน้ำใช้แบบปลอดสารพิษ มีการป้องกันไม่ให้ดินและผลผลิตเกษตรอินทรีย์
ปนเปื้อนมลพิษและสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร ดังนั้นขนมสุขภาพจึงถูกผลิตขึ้นมา
เพื่อตอบโจทย์ในด้านของความใส่ใจในการดูแลสุขภาพ โดยอาจมีการใช้ความหวานจาก
หญ้าหวานแทนน้ำตาลทราย ซึ่งหญ้าหวานเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรัก
สุขภาพเพราะไม่มีสารปรุงแต่งและไม่มีแคลอรี่จึงปลอดภัยต่อการบริโภค หญ้าหวานมีสรรพคุณ
ในการลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นผลิตภัณฑ์ขนมสุขภาพนี้จะช่วยลด
ความเสี่ยงจากการเกิดโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
โดยสามารถวางจำหน่ายที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในวันนัดตรวจเบาหวาน
เป็นขนมสุขภาพสำหรับศูนย์เด็กเล็ก หรือเป็นชุดอาหารว่างต้อนรับผู้เข้าประชุมหรือศึกษาดูงาน
เป็นการบูรณาการด้านเกษตร การศึกษา และสาธารณสุขเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพ
สำหรับกลุ่มทำขนมสุขภาพตำบลหาดกรวดบนพื้นฐานการวิเคราะห์แผนที่ตำบลจนกระทั่ง
สามารถระบุจุดแข็งด้านการเกษตร จุดอ่อนด้านการตลาด และทุนทางสังคมด้านสาธารณสุข
และงานฝีมือของประชาชนตำบลหาดกรวด
ตัวชี้วัดความมั่นคงทางสังคมในการยกระดับเกษตรอินทรีย์ที่วิเคราะห์ได้จากแผนที่
ชุมชนและแบบจำลองธุรกิจ มีข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายกเทศมนตรีตำบลหาดกรวดว่า
เทศบาลตำบลหาดกรวดเป็นตำบลแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ผ่านโครงการ
เกษตรอินทรีย์ 459 ระดับตำบล โดยมีแนวคิดช่วยเหลือเกษตรกรให้เกิดเสถียรภาพด้าน
อาหารประจำวัน ลดภาระรายจ่าย ลดภาระหนี้ แม้ไม่มีเงินแต่ต้องมีกิน เพียงเดินจากตัวบ้าน
สี่ห้าก้าวก็สามารถหาวัตถุดิบ พืชผัก เนื้อสัตว์ มาปรุงอาหารได้แล้ว (ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร, 2562) นอกจากนี้ ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
(MoU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร กับ เทศบาลตำบลหาดกรวด ยังระบุถึงนโยบาย
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาและ
การฝึกอบรมให้แก่ประชาชน โดยความร่วมมือทางวิชาการเพื่อขับเคลื่อนสังคมคุณภาพ และ
เป็นการสร้างพื้นที่เรียนรู้แบบ Social Lab หรือศูนย์ปฏิบัติการทางสังคม ซึ่งเป็นการบูรณาการ
ทำงานร่วมกันในการพัฒนากลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน และองค์กรท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบล
หาดกรวดอย่างยั่งยืน (มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2565)
บทความที่ผ่านการพิจารณา ความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว จึงร่วมกันถอดบทเรียนจากเอกสาร บทสัมภาษณ์ และ
คณะผู้วิจัย มีโอกาสได้ศึกษาการพัฒนาสังคมผ่านระบบ Social Lab ในข้อตกลง
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ในประเด็นการดำเนินการตามนโยบาย “ธรรมาภิบาลและการฟัง
เสียงประชาชน” ที่ยกระดับเกษตรอินทรีย์อันเป็นจุดเด่นของตำบล ร่วมกับการวิเคราะห์แผนที่