Page 271 - kpiebook66030
P. 271

สรุปการประชุมวิชาการ   2 1
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             ชุมชนเพื่อเขียนเป็นแบบจำลองธุรกิจที่ใช้แนวคิดประชาธิปไตยเชิงลึก โดยการมีส่วนร่วมของ
             ข้าราชการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาฯ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
             ที่สะท้อนกระบวนการสร้างอาชีพของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังมีเทศบัญญัติปีงบประมาณ
             2566 ตลอดจนโครงการความร่วมมือเชิงวิชาการ ปี พ.ศ. 2565 – 2568 ที่ระบุการจัดตั้ง

             ตลาดชุมชน การฝึกอบรมทำขนมสุขภาพ การส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ การเชื่อมโยง
             กับโครงการเชิงรุกของกองส่งเสริมการเกษตร กองการศึกษา และกองสาธารณสุข ตามแบบ
             จำลองธุรกิจขนมสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมพลังก่อนจะตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนที่เลี้ยงตนเอง

             ได้อย่างมั่นคงต่อไป


             สรุปผล (Conclusion)

                   จากการสำรวจและวิเคราะห์แผนที่ชุมชน คณะผู้วิจัยพบจุดแข็งที่โดดเด่นในด้านงาน

             เกษตรกรรมและวัฒนธรรมประเพณี จุดอ่อนในด้านการตลาดและสาธารณูปโภคพื้นฐาน
             โดยมีทุนทางสังคมที่เป็นศักยภาพรอฟื้นฟู คือ งานสาธารณสุขและงานฝีมือ ซึ่งการฟังเสียง
             ของประชาชนในทุกภาคส่วนเพื่อรวบรวมเป็นแผนที่ชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยใน
             การสร้างความมั่นคงเพื่อพัฒนาสังคมอย่างเป็นระบบผ่านแบบจำลองธุรกิจขนมสุขภาพ ที่เน้น

             ใช้จุดแข็งในด้านเกษตรอินทรีย์เป็นวัตถุดิบช่วยลดจุดอ่อนด้านการตลาด ภายใต้ศักยภาพชุมชน
             ด้านสาธารณสุขและงานฝีมือที่เพิ่มคุณค่าเชิงสุขภาพกายใจให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ แบบจำลอง
             ธุรกิจได้เขียนหลังจากผ่านกระบวนการฝึกอบรมการฟังเสียงสี่ส่วน คือ 1) เสียงความคิด
             ในการระบุกลุ่มเป้าหมาย ทรัพยากรหลัก กิจกรรมหลัก พันธมิตร 2) เสียงความรู้สึกในการระบุ

             ความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายและช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 3) เสียงการรับสัมผัส
             ในการวางแผนรายได้หลักและโครงสร้างต้นทุน และ 4) เสียงการหยั่งรู้ในการระบุคุณค่าของ
             งานที่ส่งมอบต่อสังคม นอกจากนี้ยังมีการขับเคลื่อนนโยบายและงบประมาณสนับสนุนต่อเนื่อง
             ในเทศบัญญัติ อันเป็นประชาธิปไตยเชิงลึกในการสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยการออกแบบ

             นโยบายที่ไม่ทิ้งเสียงใดไว้ข้างหลัง


             ข้อเสนอแนะ (Recommendation)


                   งานวิจัยเรื่อง “ประชาธิปไตยเชิงลึกจากแผนที่ชุมชนสู่แบบจำลองธุรกิจตำบลหาดกรวด”
             เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ถอดบทเรียนจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์
             แบบมีส่วนร่วมใน Social Lab หรือห้องปฏิบัติการทางสังคมขนาดใหญ่ภายใต้ข้อตกลง
             ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวรและเทศบาลตำบลหาดกรวด ข้อมูล

             ที่ได้จากการวิจัยจึงเป็นข้อมูลในพื้นที่เล็ก แต่มีความเชื่อถือได้ (Credibility) ในระดับสูง
             จากความสอดคล้องต้องกันของสามเส้าข้อมูล (Data Triangulation) ในวิธีการที่ต่างกัน           บทความที่ผ่านการพิจารณา
             ช่างเวลาที่ต่างกัน และผู้ให้ข้อมูลที่ต่างกัน
   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276