Page 18 - kpiebook66030
P. 18

สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


                       2. โครงสร้างการปกครองหรือการบริหารการปกครอง (Governance) ที่นำไปสู่
           การลดการสร้างข้อมูลเท็จ การบิดเบือนข้อมูลและการกระจายข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ
           ที่สามารถจัดการต่อเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า แต่ไม่ล้ำเส้นสิทธิเสรีภาพอันเป็นคุณค่าสำคัญต่อ
           ประชาธิปไตย


                       3. การแก้ปัญหาความท้าทายของความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อใช้
           เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงกลไกต่าง ๆ ของระบอบประชาธิปไตย

                       4. ข้อเสนอและทางเลือกในการแก้ไขปัญหา


                       5. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีผลต่อการเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ
           และความยั่งยืนของประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร

                       กลุ่มย่อยที่ 2 ประชาธิปไตยและการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ (Democracy
           and Geopolitics Rivalry)


                       แม้ว่าหลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 สังคมโลกได้มีการก้าว
           เข้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยและการจัดตั้งระเบียบโลกใหม่ (new world order) สภาวะ
           ภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) ได้เปลี่ยนดำเนินการบนพื้นฐานของความร่วมมือภายใต้ระเบียบโลก
           ที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ทว่า พลวัตของระเบียบโลกดังกล่าวนั้น ถูกท้าทายโดยการกลับขึ้นมามี

           บทบาทของจีนในเวทีโลก ประกอบกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิรัฐศาสตร์โลกนับตั้งแต่
           ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา ได้แก่ เหตุการณ์การก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา และสงครามต่อต้าน
           การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ส่งผลให้รัฐบาลประชาธิปไตยหลายประเทศ เลือกตรา

           กฎหมายยกเว้นการรับรองสิทธิเสรีภาพที่ขัดต่อหลักการได้สัดส่วนโดยอ้างเรื่องความมั่นคง
           กลายเป็นแนวปฏิบัติแบบขวาสุดโต่ง ซึ่งเมื่อเกิดควบคู่กับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก
           ค.ศ. 2008 และวิกฤติปัญหาโรคระบาดใน ค.ศ. 2020-2022 ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤติในระดับที่
           รัฐบาลประชาธิปไตยไม่อาจจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งในหลายประเทศ เช่น จีน รัสเซีย
           ตุรกี ฮังการี และโปแลนด์ ได้ใช้สถานการณ์ดังกล่าว สร้างความชอบธรรมให้กับแนวทาง

           การปกครองแบบอำนาจนิยม ทำให้ระบอบประชาธิปไตยสูญเสียความเชื่อมั่นและศรัทธาจาก
           ประชาชนในประเทศตัวเอง ประชาชนยอมรับแนวทางการแก้ปัญหาแบบเผด็จการมากขึ้น และ
           เกิดเป็นการแข่งขันระหว่างอุดมการณ์ที่แตกต่าง ส่งผลให้สถานการณ์ประชาธิปไตยโลกอยู่ใน

           สภาวะที่ไม่มั่นคง

                       ประเด็นการประชุมกลุ่มย่อยนี้ จึงเสนอว่า สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์โลก
           ในปัจจุบันอยู่ในจุดล่อแหลมอย่างยิ่ง เราต้องการเวทีทางวิชาการที่ถกเถียงวิเคราะห์สภาวะ
           การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์โลกที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น คุณค่า และประสิทธิภาพของ

           ระบอบประชาธิปไตย ทั้งในระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศ เนื่องจากภาวะดังกล่าวนี้
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23