Page 20 - kpiebook66030
P. 20
10 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
สูงขึ้น ขณะที่รายได้ของรัฐกำลังถดถอยลงอันจะส่งผลต่อศักยภาพในการพัฒนาของรัฐ
ในอนาคต ปัญหาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของสังคมและนำไปสู่ความไม่มั่นคงทาง
สังคม ที่กำลังกัดกร่อนความมั่นคงของรัฐจากภายใน
ปัญหาข้างต้นสะท้อนให้เห็นความไม่เป็นประชาธิปไตยที่แอบแฝงอยู่ใน
โครงสร้างทางสังคมหลายประการอาทิ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเลือกปฏิบัติ ปัญหา
คอร์รัปชันและการขาดหลักนิติธรรม เป็นต้น ดังนั้น ห้องย่อยที่ 3 จึงมุ่งทบทวนและอภิปราย
สถานการณ์ความมั่นคงทางสังคมของไทยและต่างประเทศ สาเหตุแห่งปัญหา เครือข่าย
กระบวนการและผลลัพธ์ เพื่อร่วมกันค้นหาปัจจัยข้อท้าทายต่าง ๆ ตลอดจนแนวนโยบาย
ที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมของไทย ได้ข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การสร้าง
สังคมแห่งโอกาส สังคมแห่งความสามารถ สังคมแห่งความเป็นธรรม และสังคมแห่งสันติสุข
ต่อไป
ประเด็นกลุ่มย่อย
1. สถานะความมั่นคงทางสังคมของไทย และข้อท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อ
ความมั่นคงทางสังคม
2. ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยกับความมั่นคงทาง
สังคม
3. แนวทางการรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม
ในระบอบประชาธิปไตย
4. พลวัตของความมั่นคงทางสังคม
กลุ่มย่อยที่ 4 ประชาธิปไตยและความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม (Democracy
and Environmental Security)
การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมทั่วโลกได้ทำให้นานาประเทศเผชิญกับ
ความไม่แน่นอนมากขึ้น ซึ่งความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญ คือความยุ่งยาก
ซับซ้อนในการบริหารจัดการกับความผันผวนเหล่านั้นท่ามกลางความต้องการที่หลากหลายของ
ผู้คน ทั้งในเรื่องของการปรับตัวและรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate change mitigation and adaptation) การปกป้องมหาสมุทรจากขยะ มลพิษ และ
ภาวะความเป็นกรด (Protecting the oceans from waste, pollution, and acidification)
การเปลี่ยนผ่านและพลังงานทางเลือก (The Energy transition and renewables)
ความมั่นคงทางอาหาร (Food security) การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทาง
ชีวภาพ (Protecting ecosystem and biodiversity) ตลอดจนการจัดการเมือง (Sustainable
urban development and mobility) ในภาวะที่ประชากรมีการเคลื่อนย้ายสูง ที่ยังผลให้เกิด