Page 21 - kpiebook66030
P. 21
สรุปการประชุมวิชาการ 11
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ความท้าทายต่อการจัดการปัญหาของเสียและมลพิษ จนก่อให้เกิดผลต่อเนื่องเป็นปัญหาสุขภาพ
ตามมา ความไม่มั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมยัง รวมถึง ความเสี่ยงด้านนิเวศวิทยา (Ecological
Threats) สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพระบุว่า ประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านอาหาร
ความเสี่ยงด้านการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว ความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ ความเสี่ยงด้าน
ทรัพยากรน้ำ และอุณหภูมิที่แปรปรวน
จากที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างของภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกต่างเผชิญ
และหาทางออกร่วมกัน ผ่านเวทีความร่วมมือเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(COP26) ซึ่งนำไปสู่ความตกลงระหว่างประเทศเพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูง
เกินกว่า 2 องศาเซลเซียส โดยหลายประเทศได้อนุวัติตามข้อตกลงฯ ด้วยการดำเนินการทาง
นโยบายและกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ประเทศในระบอบประชาธิปไตยต้องคำนึงถึงการจัดสรรสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมและ
มีส่วนร่วมด้วย อย่างไรก็ดี ประเด็นสิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้ทำให้เกิดความท้าทายต่อ
กระบวนการและปลายทางของทางประชาธิปไตย ว่ากลไกตามครรลองของประชาธิปไตย
ที่มีอยู่ได้นำไปสู่เป้าหมายด้านโอกาส สิทธิ/เสรีภาพ/ความยุติธรรมและการอยู่ในสภาวะแห่ง
สิ่งแวดล้อมสันติสุขยั่งยืนแล้วหรือไม่ อย่างไร
ประเด็นกลุ่มย่อย
1. ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อความมั่นคงและท้าทายต่อกระบวนการทาง
ประชาธิปไตย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของเสียและมลพิษ อาหาร พลังงาน
ระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสี่ยงด้านนิเวศวิทยา การจัดการเมือง ฯลฯ
(อะไรคือประเด็นท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ที่กระทบต่อความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมและทำให้
ประชาธิปไตยในแต่ละประเทศรวมทั้งในประเทศไทยต้องปรับตัว และปรับตัวอย่างไรบ้าง)
2. เครื่องมือทางกระบวนการประชาธิปไตยในระดับนานาประเทศ ระดับชาติ
และท้องถิ่น เช่น ความตกลงภาคีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม การใช้สิทธิและเสรีภาพทาง
สิ่งแวดล้อมตามนโยบายและกฎหมาย การรับฟังความคิดเห็น การวัดความเป็นชนบทและเมือง
ตลอดจนเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ ฯลฯ (เครื่องมือหรือกลไกทางประชาธิปไตยที่มีอยู่ในทุก
ระดับ สามารถรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ได้เพียงใดและอย่างไร)
3. ทางออกของกระบวนการประชาธิปไตย เพื่อจัดการความท้าทายด้าน
สิ่งแวดล้อมใหม่ และนำไปสู่เป้าหมายด้านโอกาส เสรีภาพและความยุติธรรม และสันติสุข
(เพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ กระบวนการทางประชาธิปไตยที่มีอยู่ควรได้รับ
การเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร แต่ละภาคส่วนควรปรับบทบาทอย่างไร)