Page 13 - kpiebook66030
P. 13

1. หลักการและเหตุผล


                   ที่ผ่านมาความเข้าใจต่อประเด็นของความมั่นคงมักจะเป็นเรื่องของภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบ
             ต่อรัฐและอธิปไตยของรัฐในทางตรง ซึ่งเป็นความมั่นคงในรูปแบบดั้งเดิม (traditional
             security) ทว่านับตั้งแต่ยุคหลังสิ้นสุดสงครามเย็นเป็นต้นมา นัยยะของความมั่นคงเกิด

             ความเปลี่ยนแปลงและมิได้มีความหมายจำกัดเพียงความมั่นคงของรัฐ (state security)
             อีกต่อไป แต่ภัยคุกคามของรัฐกลายเป็นเรื่องความท้าทายในการอยู่รอด การมีศักดิ์ศรี และ
                                       1
             ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
                   ความมั่นคงที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม (non-traditional security) ที่เกิดขึ้นนี้จึงกลายเป็น

             ความมั่นคงใหม่ (new security) ที่ประเด็นความมั่นคงขยายตัวจากการที่รัฐเป็นศูนย์กลาง
             (state centrism) ไปสู่ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อปัจเจกบุคคล สังคม และมนุษยชนในภาพรวม
             ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยผ่านเครื่องมืออื่น ๆ ที่ไม่ใช่วิธีทางการทหารหรือสงคราม
             ที่ใช้กำลังในการทำลายล้างซึ่งชีวิตและความเสียหายเชิงกายภาพที่มีความเกี่ยวพันเชื่อมโยง

             กับความมั่นคงของมนุษย์ (human security) และความมั่นคงทางสังคม (societal security)
             รวมทั้งความเป็นอยู่โดยรวม ทั้งนี้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations
             Development Programme: UNDP) ได้เสนอองค์ประกอบความมั่นคงของมนุษย์ 7 ประการ
             ได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคง

             ทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงส่วนบุคคล ความมั่นคงของชุมชน และความมั่นคงทางการเมือง
             สรุปได้ว่า ความมั่นคงของมนุษย์จึงสัมพันธ์กับความเป็นอิสระจากความกลัวและความอยาก

                 1   Mely Caballero-Anthony, 2016, Understanding Non-traditional Security, in Mely Caballero-
             Anthon (editor), An introduction to non-traditional security studies: A transnational approach,
             Singapore: SAGE Publications.
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18