Page 39 - kpiebook66003
P. 39
38 การศึกษาเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนาตัวแบบโรงเรียนแห่งความซื่อตรง
การแบ่งประเภทของความซื่อตรงโดย Huberts (2005) Bar-
nard, Schurink and De Beer (2008) และสถาบันพระปกเกล้า (2554)
ทำาให้เห็นว่า ความซื่อตรงนั้นมีขอบเขตที่กว้างและหลากหลาย ซึ่งสามารถ
สรุปลักษณะความซื่อตรงเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1) ความซื่อตรงต่อตนเอง
2) ความซื่อตรงต่อบุคคลอื่น
3) ความซื่อตรงต่อหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ
4) ความซื่อตรงต่อสังคมและประเทศชาติ
ความซื่อตรงต่อตนเอง หมายถึง ความรู้ผิดชอบชั่วดี มีศีลธรรม
ซื่อสัตย์ต่อตนเองแม้ไม่มีใครรู้เห็นและคิดอยู่เสมอว่าความลับไม่มีในโลก
เป็นความซื่อสัตย์ต่ออุดมการณ์ของตน ไม่หลอกลวงหรือแก้ตัวให้กับตนเอง
เมื่อกระทำาสิ่งที่ผิดหรือไม่สมควร ยึดมั่นในความดีทั้งกาย วาจา และใจ
โดยยึดถือความถูกต้องเป็นที่สุด
ความซื่อตรงต่อบุคคลอื่น หมายถึง ความจริงใจต่อกัน ไม่คดโกง
หลอกลวง มีความสามัคคีกัน ไม่นินทาว่าร้าย ไม่คิดร้ายต่อกัน ไม่ทำาตนเป็น
คนหน้าไหว้หลังหลอก ไม่กล่าวหรือเขียนข้อความเท็จ ไม่ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น
ซึ่งหากมีการประพฤติซื่อตรงดังกล่าวก็จะนำามาซึ่งความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
ลดความหวาดระแวง และเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ความซื่อตรงต่อ
บุคคลอื่นยังหมายถึงความตรงเวลาเมื่อไปพบผู้อื่นตามเวลาที่ได้นัดหมายไว้
เพราะไม่เบียดเบียนเวลาผู้อื่น ความซื่อตรงข้อนี้สอดคล้องกับ “หลักราชการ”
ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงนิพนธ์
พระราชทานให้กับข้าราชการ เนื่องในวันสงกรานต์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์
2457 ว่าการประพฤติซื่อตรงต่อคนทั่วไป คือ การรักษาตนให้เป็น