Page 11 - kpiebook66003
P. 11

10   การศึกษาเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนาตัวแบบโรงเรียนแห่งความซื่อตรง



           ดำาเนินการกับนักเรียนกลุ่มอื่น มีการทำากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง นักเรียน

           ที่ได้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้น นอกจากนี้
           ยังพบว่า การดำาเนินโครงการโรงเรียนแห่งความซื่อตรงมีปัจจัยความสำาเร็จ
           ได้แก่ การมีส่วนร่วมของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารและบุคลากรครูในโรงเรียน

           และการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ส่วนอุปสรรค ได้แก่ ระยะเวลา
           การทำากิจกรรมที่อาจขาดความต่อเนื่องและดำาเนินการในช่วงเวลาเรียน

           ซึ่งอาจกระทบต่อการเรียน อีกทั้ง สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำาให้นักเรียน
           มีคำาถามต่อความซื่อตรงในสังคมไทย

                   หลังจากที่ได้มีการถอดบทเรียนจากทั้ง 12 โรงเรียนแล้ว คณะผู้วิจัย

           ได้ปรับปรุงและพัฒนาตัวแบบการเสริมสร้างความซื่อตรงสำาหรับเยาวชน
           ในยุคดิจิทัล ในสาระการบรรยายเรื่องความซื่อตรง และกระบวนการพัฒนา

           แผนเรื่องความซื่อตรง เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีการคิดค้น
           ลักษณะกิจกรรมที่เสริมสร้างความซื่อตรงในยุคดิจิทัล โดยลดความซับซ้อน
           ของกระบวนการลงให้สอดคล้องกับช่องทางแบบออนไลน์


                   คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะทางนโยบายว่า กระทรวงศึกษาธิการ
           ร่วมกับหน่วยงานที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม เช่น ศูนย์คุณธรรม หรือสำานักงาน

           พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรมีการทบทวนเพื่อบูรณาการโครงการหรือ
           กิจกรรมเสริมสร้างความซื่อตรงในสถานศึกษา เพื่อให้การดำาเนินโครงการ
           ด้านความซื่อตรงในสถานศึกษาจากหลายหน่วยงานก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์

           อย่างเต็มที่

                   สำาหรับข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ การนำาตัวแบบนี้ไปดำาเนินการ

           ให้เหมาะสมกับเยาวชนในยุคดิจิทัล วิทยากรและครูที่ปรึกษาอาจแนะนำาให้
           นักเรียนได้ค้นคว้าและใช้เครื่องมือที่อิงกับเทคโนโลยี ตลอดจนกระตุ้นประเด็น

           เรื่องการเสริมสร้างความซื่อตรงในยุคดิจิทัลมากขึ้น โดยพิจารณาความพร้อม
           ด้านเทคโนโลยี บุคลากรครู และนักเรียนควบคู่กันไปด้วย
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16