Page 77 - kpiebook65063
P. 77
การทำงานที่บ้านแต่สามารถเข้าถึงลูกค้าหรือผู้รับบริการ การจัดให้บริการและ
การจัดการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 4) การสร้างตัวคูณทางเศรษฐกิจ (Multiplier) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรายได้ในพื้นที่
3) การส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น สหกรณ์
ร้านค้าชุมชน วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจหรือกิจการเพื่อสังคม ที่ส่งเสริมการถือหุ้น
โดยสมาชิกในชุมชน เพื่อให้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตกกลับสู่สมาชิก รวมทั้งการพัฒนา
ช่องทางและศูนย์กลางตลาดสินค้าชุมชน โดยครอบคลุมถึงช่องทางตลาดออนไลน์และ
ช่องทางตลาดอื่น ๆ
ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อ เช่น โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการ
สาธารณะเพื่อดึงดูดการลงทุนของภาคเอกชน และการพัฒนาธุรกิจรายย่อย ขนาดย่อม
และขนาดกลาง เป็นต้น
4. การจัดการน้ำ
ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากเจาะจงไปที่ทรัพยากรน้ำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือ
ประปา การกำจัดน้ำเสีย และการจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม ทั้งนี้พระราชบัญญัติ
กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และ
กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการและ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายประการ
โดยมีรายละเอียดดังตาราง
สถาบันพระปกเกล้า