Page 80 - kpiebook65063
P. 80
ส่วนท้องถิ่นอาจมีแนวทางในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ดังนี้
18
1) จัดการน้ำเพื่อชุมชนชนบท โดยพัฒนาการจัดการน้ำทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคง
ด้านน้ำ โดยจัดให้มีน้ำสะอาดใช้ทุกครัวเรือนในชุมชนชนบททั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ
และราคาที่เข้าถึงได้ มีการจัดการน้ำในชุมชนที่เหมาะสมกับการพัฒนาในมิติเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
2) จัดการน้ำในเขตเมือง โดยจัดให้มีน้ำอย่างเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเมือง
เพื่อการอยู่อาศัย การพาณิชย์ และบริการสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงมีระบบ ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
การจัดการน้ำดี-น้ำเสีย ระบบระบายน้ำ กักเก็บน้ำ และป้องกันน้ำท่วม
3) จัดการน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่
พักน้ำ และแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ของตนให้มีปริมาณและคุณภาพน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้
4) จัดการน้ำเพื่อการพัฒนา โดยจัดให้มีน้ำอย่างเพียงพอสำหรับการพัฒนาเกษตร
อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการผลิตพลังงาน รวมถึงมีระบบดูแลน้ำภายในพื้นที่
สำหรับผู้ใช้น้ำดังกล่าว
5) จัดระบบการจัดน้ำในภาวะวิกฤต โดยจัดระบบการจัดการภัยพิบัติจากน้ำในภาวะวิกฤต
ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ลมพายุ ภัยแล้ง และแผ่นดินถล่ม เพื่อลดความเสี่ยงหรือ
ความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นให้อยู่ในขอบเขตที่ควบคุมได้และสามารถฟื้นตัวได้ในเวลา
อันสั้น
6) จัดการบริหารน้ำเชิงลุ่มน้ำอย่างมีธรรมาภิบาล โดยจัดการให้มีการจัดหาและใช้น้ำ
ที่สมดุลและสร้างความเป็นธรรม และมีระบบและกลไกการจัดสรรน้ำ
7) อนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติและแม่น้ำลำคลอง โดยจัดการ แก้ไขปัญหา และ
ป้องกันการรุกล้ำแนวเขตแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงอนุรักษ์ฟื้นฟูและ ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
พัฒนาแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติ ในทุกมิติ เช่น การระบายน้ำ เก็บกักน้ำ
การจัดการคุณภาพน้ำ ขยะวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำ การบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม
ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ สุนทรียภาพทางธรรมชาติ ระบบนิเวศ และ
ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
18 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (19)
ประเด็นการบริหารจัดากรน้ำทั้งระบบ. [ออนไลน์]. สืบค้นจากเว็บไซต์ http://nscr.nesdc.go.th/master-plans/ เมื่อ
วันที่ 30 สิงหาคม 2565.
สถาบันพระปกเกล้า 9