Page 79 - kpiebook65063
P. 79

3) การบำบัดน้ำเสีย เป็นการบริหารจัดการน้ำเสียของชุมชนโดยครอบคลุมทั้งการจัดการ

                    น้ำเสีย และการเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบ

     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   ส่วนที่สองได้แสดงให้เห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดให้บริการสาธารณะด้าน
                 4)  การบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการชลประทาน

                    โครงการสูบน้ำ การการตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ และการจัดเก็บค่ากระแสไฟฟ้าในการสูบน้ำ

                 จากการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังที่ได้กล่าวไปแล้วใน



           การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับที่ควรปรับปรุง

           ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาภารกิจด้านนี้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม




                 1)  การขาดแคลนน้ำหรือปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ความต้องการใช้น้ำ
                 ปัจจุบัน ประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำในหลายด้าน ได้แก่
                    ในประเทศมีจำนวน 151,750 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ศักยภาพของการเข้าถึง
                    แหล่งน้ำของภาคส่วนต่าง ๆ มีจำนวน 102,140 ล้านลูกบาศก์เมตร ประเทศไทยยังมี

                    ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นในอนาคตจากการขยายตัวของเมืองและกิจกรรมทาง
     ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
                    เศรษฐกิจโดยขาดการคำนึงถึงศักยภาพของลุ่มน้ำ และมีความต้องการใช้น้ำเพื่อ
                    การผลิตและอุปโภคอย่างไม่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะภาคการเกษตร 17


                 2)  ปริมาณน้ำมากเกินไปในช่วงฤดูน้ำหลากหรือเกิดน้ำท่วม สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด
                    น้ำท่วมในประเทศ คือ ฝนตกหนักหรือฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งความรุนแรงของ

                    น้ำท่วมจะขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ หลายพื้นที่
                    กลายเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก จึงก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของ

                    ประชาชน รวมถึงเศรษฐกิจในพื้นที่

                   ที่สำคัญโดยภาพรวมของการบริหารจัดการน้ำยังขาดกลไกในการบูรณาการระหว่าง
           หน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ


                   จากสถานการณ์น้ำดังกล่าวข้างต้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเป็นหุ้นส่วนกับรัฐ
           ในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ แม้ว่าการจัดการโควิด-19 มีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน

           แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่อาจละเลยเรื่องการจัดการน้ำได้ โดยองค์กรปกครอง


               17   สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (19)
           ประเด็นการบริหารจัดากรน้ำทั้งระบบ. [ออนไลน์]. สืบค้นจากเว็บไซต์ http://nscr.nesdc.go.th/master-plans/ เมื่อ
           วันที่ 30 สิงหาคม 2565.



               สถาบันพระปกเกล้า
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84