Page 75 - kpiebook65063
P. 75
4) การขยายโอกาส ยกตัวอย่างเช่น การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึง
ปัจจัยในการประกอบอาชีพทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน และระดับชุมชน การส่งเสริม
สนับสนุนการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และการกำหนดพื้นที่ผ่อนผันเพื่อให้ประชาชน
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ในส่วนที่สองได้แสดงให้เห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดให้บริการสาธารณะ
มีสถานที่จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ตลาดสาธารณะ ทางสาธารณะ) เป็นต้น
จากการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยวอยู่ในระดับที่ควรปรับปรุง
ซึ่งการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยวเป็นภารกิจหนึ่งที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ
ฐานราก ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาภารกิจด้านนี้ให้ดีขึ้น
กว่าเดิม ซึ่งจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน
และสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
จากการสำรวจบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการโควิด-19 ที่ผ่านมา พบว่า
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 71.27 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดมุ่งเน้น
ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ไปที่การป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาด ขณะที่มีเพียงร้อยละ 37.10 ดำเนินการฟื้นฟู
เศรษฐกิจในท้องถิ่น ทั้งนี้การดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มากกว่าครึ่งดำเนินการ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 78.00 ให้ความรู้ประชาชน
เช่น การอบรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการอบรมการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นต้น
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 57.93 จัดอบรมเพื่อการประกอบอาชีพ ขณะที่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 20.00 ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประกอบการหรือวิสาหกิจรายย่อย (SMEs) และส่งเสริมการจ้างงาน
16
16 สถาบันพระปกเกล้า. (2564). รายงานสถานการณ์การกระจายอำนาจ ประจำปี พ.ศ. 2564: บทบาทว่าด้วย
บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการวิกฤตโควิด-19. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า 33-34
และ 57.
สถาบันพระปกเกล้า