Page 72 - kpiebook65063
P. 72
ดังนั้นการยกระดับการจัดบริการสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง
ควรมีแนวทาง ดังนี้
1) สำรวจ จัดทำฐานข้อมูล และดูแลประชากรกลุ่มเปราะบางให้ครอบคลุมทุกกลุ่มและ
ทุกคน (Inclusiveness) และจัดให้บริการสาธารณะที่ตอบสนองต่อความจำเป็นและ
ความต้องการพิเศษของประชากรแต่ละกลุ่ม
2) พัฒนาระบบข้อมูลชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเป็นศูนย์รวมข้อมูลที่เป็นจริง
ของชุมชน เป็นข้อมูลเชิงลึกและทันสมัย โดยมีข้อมูลทั้งระดับนโยบาย เช่น ระบบ ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
บริการสาธารณะ ระบบบริการสังคม และข้อมูลการจัดการต่าง ๆ เป็นต้น และข้อมูล
ระดับปัจเจกบุคคล เช่น อายุ เพศ อาชีพ รายได้ ความยากจน และสุขภาพ เป็นต้น
ที่สำคัญจำเป็นต้องแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวให้แก่หน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และ
ภาคประชาสังคมที่เข้ามาดำเนินการในพื้นที่ เพื่อให้สามารถจัดระบบการดูแลประชากร
กลุ่มเปราะบางในชุมชนได้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทที่เกิดขึ้น
3) ปรับแนวคิดการจัดสวัสดิการในชุมชน ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณในปัจจุบัน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรปรับแนวคิดในการจัดสวัสดิการ โดยควรจัดสวัดิการ
เชิงผลิตภาพ (Productive Welfare) ให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และครอบครัวเข้ามาร่วมจัด
สวัสดิการโดยการระดมทุน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการจัดสวัสดิการต้องเกิด
ประโยชน์สูงสุด และที่สำคัญประชากรกลุ่มเปราะบางควรได้รับสวัสดิการอย่างมีศักดิ์ศรี
4) ปรับปรุงบริการเข้าสู่ยุคดิจิทัล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรอำนวยความสะดวก
ให้แก่ประชากรกลุ่มเปราะบางในการรับบริการต่าง ๆ โดยอาจจัดให้บริการแบบ
เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว หรือบริการผ่านระบบออนไลน์
5) เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้แก่ประชากรกลุ่มเปราะบาง องค์กรปกครอง ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ส่วนท้องถิ่นควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ตให้มีความพร้อม
สนับสนุนให้ประชากรกลุ่มเปราะบางทุกคนเข้าถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเสริมสร้าง
ความรู้และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ผ่านกลไกที่สำคัญคือ อาสาสมัครในชุมชน
สถาบันพระปกเกล้า 1