Page 68 - kpiebook65063
P. 68
** กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2562, พ.ร.บ.ระเบียบบริหราชราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562,
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2442 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562, พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496
แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
ที่มา: ผู้เขียน
เพื่อให้เห็นภาพกิจกรรมการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเปราะบาง
ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงจะนำเสนอการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
กลุ่มเปราะบาง 4 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน สตรี และผู้พิการ โดยมีรายละเอียด
ดังนี้
1) ผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในทุกมิติ
ทั้งร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งการดำเนินงาน
ออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น
การจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การบริการตรวจสุขภาพที่บ้าน การให้ความรู้และคำแนะนำ
ในการดูแลสุขภาพ การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และการบำบัดฟื้นฟู
สมรรถภาพหรือกายภาพบำบัด เป็นต้น (2) ด้านรายได้ ยกตัวอย่างเช่น การจัด
สวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุที่ยากจนหรือไม่มีที่พึ่งพิง การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ
ส่งเสริมสวัสดิการ การจ่ายเบี้ยยังชีพ และการส่งเสริมการประกอบอาชีพหรือรายได้
เสริม เป็นต้น (3) ด้านที่พักอาศัย ยกตัวอย่างเช่น การซ่อมแซมและปรับสภาพบ้าน
ให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เป็นต้น (4) ด้านนันทนาการ ยกตัวอย่างเช่น
การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุหรือการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน การจัด
กิจกรรมตามประเพณี ศาสนา วัฒนธรรม การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่รุ่นลูกหลาน
และการพาไปศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษา เป็นต้น (5) ด้านความมั่นคงทางสังคม ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อ
พัฒนาศักยภาพและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย
ในสถานที่สาธารณะหรือการใช้บริการสาธารณะ การสงเคราะห์การฌาปนกิจ
การรณรงค์ให้ครอบครัวและคนในสังคมอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ
การส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวสามารถดูแลผู้สูงอายุ และการให้คำแนะนำและ
คำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิการที่ผู้สูงอายุพึงได้รับ เป็นต้น และ (6) ด้านการสร้าง
บริการและเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุ ยกตัวอย่างเช่น การจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
บริการเยี่ยมบ้าน ระบบดูแลผู้สูงอายุในชุมชน การจัดให้มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และ
การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุเพื่อให้มีเครือข่ายในการดูแลซึ่งกันและกัน เป็นต้น
สถาบันพระปกเกล้า