Page 65 - kpiebook65063
P. 65

ความรู้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การจัดทำหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และการฉีด

           วัคซีนโควิด-19 โดยต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว บทเรียนที่สำคัญอีกประการ คือ
           กลไกที่ช่วยควบคุมยอดผู้ติดเชื้อได้อย่างสัมฤทธิ์ผลในโควิด-19 ระลอกแรก คือ ความร่วมมือ
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   หมู่บ้าน (อสม.) ที่ลงพื้นที่อย่างเข้มข้นในชุมชนท้องถิ่นของตัวเอง ดังนั้นด้วยสถานการณ์การแพร่
           ระหว่างท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ


           ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะหน่วยงาน

           ของรัฐที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดในพื้นที่จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพัฒนาบริการสาธารณะ
           ด้านสาธารณสุขให้มีความพร้อมในการรับมือกับวิกฤตโรคระบาด โรคอุบัติซ้ำ และโรคอุบัติใหม่

           ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตโดยไม่คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป และควรวางระบบหรือแนวทาง
           การประสานความร่วมมือกับภาคส่วนอื่น ๆ ในพื้นที่ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามี
           ส่วนร่วมในการดำเนินงานจนถึงระดับที่สามารถดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน

           หรือชุมชนของตนได้

                 ไม่เพียงแต่การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับวิกฤตโรคระบาด โรคอุบัติซ้ำ และ

           โรคอุบัติใหม่เท่านั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังจำเป็นต้องพัฒนาหรือยกระดับการจัดบริการ
           สาธารณะด้านสาธารณสุขให้สามารถตอบสนองกับความต้องการของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นตาม
     ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
           บริบทโลกสมัยใหม่ ซึ่งสถานการณ์ ปัญหา และความท้าทายที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและพยายาม
           แก้ไขอย่างเร่งด่วนในขณะนี้มี 3 ประการ ได้แก่


                “1) การเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือด
                    หัวใจ และหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ
                    71.00 ของการเสียชีวิตทั่วโลก หรือประมาณ 15 ล้านคนต่อปี สำหรับประเทศไทย

                    โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 10 อันดับแรก

                 2) การเข้าสู่งสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ ขณะนี้ประชากรผู้สูงอายุมีสัดส่วนมากกว่า
                    ร้อยละ 10.00 ของประชากรโลก ซึ่งหมายความว่าประชากรโลกได้เข้าสู่การเป็น

                    สังคมสูงวัยแล้ว ประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยเป็น
                    อันดับสองของภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ และคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่

                    การเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์หรือมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20.00 ของประชากร
                    ทั้งหมดในปีหน้าหรือปี พ.ศ. 2566 ผู้สูงอายุมักมีข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวัน
                    มีความเจ็บป่วยเรื้อรัง และมีภาวะพึ่งพิงบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งต้องการการดูแลทาง

                    การแพทย์และสาธารณสุข






               สถาบันพระปกเกล้า
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70