Page 64 - kpiebook65063
P. 64
ทัศนคติ (Attitude) ที่ดีเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นการปฏิบัติ (Practice)
ที่ถูกต้อง และเมื่อลงมือปฏิบัติบ่อยครั้งก็ทำให้เกิดทักษะความสามารถ (Skill) ในงาน
สาธารณสุขมูลฐาน
2) การพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานและการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชนหรือ
หมู่บ้านในด้านการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออก
โรคเอดส์ สุขภาพจิต การแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ การสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง
การให้ข้อมูลข่าวสาร และปัญหาสาธารณสุขประจำถิ่น เป็นต้น ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
3) การจัดบริการสุขภาพเบื้องต้นในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) เป็นการส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการจัดบริการสุขภาพเบื้องต้นโดยชุมชน โดยกำหนดให้ศูนย์สาธารณสุข
มูลฐานชุมชนเป็นศูนย์กลาง หรือแหล่งกลางของข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขต่าง ๆ
การถ่ายทอดความรู้และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และการให้
บริการสุขภาพที่จำเป็น เช่น การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลก่อนการส่ง
ไปยังสถานบริการสุขภาพอื่น ๆ หรือการตรวจคัดกรองเบื้องต้น” 8
จากการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังที่ได้กล่าวไปแล้วในส่วนที่
สองได้แสดงให้เห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุข
ได้ในระดับพอใช้ ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาบริการ
สาธารณะด้านสาธารณสุขให้ดีขึ้นกว่าเดิมแม้ในสถานการณ์ปกติ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการพัฒนา
ศักยภาพผู้ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพในหมู่บ้านหรือชุมชน การจัดทำแผนสุขภาพ การให้ความรู้แก่
ประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและ
ควบคุมโรคต่าง ๆ การเตรียมความพร้อมการรับมือโรคติดต่อหรือโรคอุบัติใหม่ การจัดให้มี
หรือสนับสนุนหน่วยบริการสาธารณสุข การมีระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการ
สุขาภิบาลอาหารและด้านการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค และการมีระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและด้านการจัดการมูลฝอย เป็นต้น
นอกจากนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พวกเรามีบทเรียนว่า การสาธารณสุขในระดับ
ชุมชนท้องถิ่นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในภาวะฉุกเฉินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องเข้าไปมี
บทบาทไม่ว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักหรือเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมในการคัดกรองผู้ติดเชื้อ
การกักกันผู้ติดเชื้อ การส่งต่อผู้ติดเชื้อเพื่อการรักษา การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดในพื้นที่ การให้
8 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). มาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐาน. [ออนไลน์]. สืบค้นจากเว็บไซต์
http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/std210550/15/15.html เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565.
สถาบันพระปกเกล้า