Page 76 - kpiebook65063
P. 76
แผนภาพที่ 3-1: ร้อยละบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการโควิด-19
ที่มา: สถาบันพระปกเกล้า. (2564). รายงานสถานการณ์การกระจายอำนาจ ประจำปี พ.ศ. 2564: บทบาทว่าด้วยบทบาทของ ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการวิกฤตโควิด-19. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า 57.
ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังจากนี้ควรตอบโจทย์
ให้ตรงจุด โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
1) การช่วยประคับประคองผู้ประกอบการหรือวิสาหกิจรายย่อย (Micro SMEs) องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นควรคำนึงถึงกลุ่มผู้ประกอบการหรือวิสาหกิจรายย่อยในพื้นที่
เพราะเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และจัดทำโครงการที่ช่วยประคับประคองให้
ผู้ประกอบการหรือวิสาหกิจรายย่อยสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เช่น การลดค่าเช่า
(ตลาด) และการลดดอกเบี้ย (โรงจำนำ) เป็นต้น
2) การเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเพื่อยกระดับ
ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
สู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ โดยสร้างโอกาสและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีทักษะ
ที่สอดคล้องและจำเป็นต่อการยกระดับเป็นผู้ประกอบการ มีความรู้ความเข้าใจ
ด้านบัญชีการผลิต การควบคุมต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการจัดการ
คุณภาพและมาตรฐานผลผลิตให้สามารถแข่งขันได้
3) การพัฒนาและสร้างทักษะใหม่ (Reskill & Upskill) ที่ตอบสนองต่อฉากทัศน์ใหม่
ในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนกระบวนการคิด (Mind Set) ของภาคบริการและแรงงาน
ทั้งนี้ฉากทัศน์ใหม่ที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้น ได้แก่ การเข้าสู่สังคมดิจิทัลแบบเต็มตัว
สถาบันพระปกเกล้า