Page 304 - kpiebook65063
P. 304
และสังคมของเด็กเล็กในตำบลพลับพลาไชย ตลอดจนตอบสนองความต้องการของชุมชน
จึงได้เปิดการเรียนการสอนเด็กระดับปฐมวัย ในวันที่ 2 เมษายน 2561 เป็นต้นมา
5.1.2) การจัดการศึกษาโดยการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance
Education) หัวใจสำคัญของโรงเรียนในท้องถิ่น คือ การจัดการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม ในขณะเดียวกันก็ออกแบบ
การศึกษาให้มีอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่น เป็นโรงเรียนไม่มีรั้วที่สร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นได้
โดยโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย ได้นำหลักการบริหารจัดการที่ดี ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
(Good Governance Education) มาใช้ในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้
เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
5.1.3) การจัดการศึกษาโดยกุญแจแห่งความสำเร็จ (Growth Mindset
Education) ใช้วิธีจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ สร้างกรอบความคิด ความเชื่อ ทัศนคติที่ช่วยต่อยอดความเก่ง ให้เด็ก
กล้าคิด กล้าพูด ฝึกฝนทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ด้วยตัวเอง
5.1.4) การจัดการศึกษาโดยคุณธรรมพื้นฐาน 5 ประการ (Good Merit
Education) ได้แก่ พอเพียง กตัญญู ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ และมีอุดมการณ์
คุณธรรม เพื่อปลูกฝังให้เด็ก ๆ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
5.1.5) การจัดการศึกษาโดยภูมิปัญญารุ่นใหญ่ (Grand generation
Education) โดยการเชิญปราชญ์ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาร่วมออกแบบการเรียนการสอน
เช่น ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ในหน่วยการเรียนรู้ชุมชนน่าอยู่ สอน “กิจกรรม
การละเล่นไทย” โดยวิทยากรรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย
5.2) การดำเนินกิจกรรมพัฒนาบุคลากร ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
5.2.1) การสื่อสารกับภาคส่วนอื่น ๆ: ผู้บริหารตั้งเป้าหมายให้ทุกองค์กรเข้าใจ
ตรงกันในเรื่องจุดประสงค์และเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยโครงการนี้
เป็นโครงการที่เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิด ต่อยอดถึงชั้นอนุบาล ซึ่งต้องอาศัยแนวร่วมและเวลา โดยชวน
หลายภาคส่วนมานั่งพูดคุย รวมถึงผู้ปกครองและภาคเอกชน
5.2.2) การนำหลักสูตรจากเด็กอนุบาล 3 มา ให้ผู้ปกครองได้ตัดสินคัดเลือก
แนวทาง โดยเน้นเรื่องความครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มในพื้นที่และการเรียนรู้ที่มาของ
ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ของคนในพื้นที่
สถาบันพระปกเกล้า 29