Page 308 - kpiebook65063
P. 308
1. การปูพื้นฐานต้นทุนทางสังคมให้กับพื้นที่ : ของ อบต. พลับพลาไชยเริ่มจากการประสาน
เครือข่ายหรือที่เรียกว่า ทางสังคมที่ดีให้กับพื้นที่ โดยผู้บริหารใช้ความเป็นคนดั้งเดิมในท้องที่
สร้างความสัมพันธ์และความแน่นแฟ้น ให้คนในพื้นที่เกิดความภาคภูมิใจในพื้นที่และก่อให้เกิด
ความร่วมมือ รวมทั้งยังทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบต่อประชาชนในท้องถิ่นของตนเองอย่างเต็มที่
2. การสร้างความยืดหยุ่นและความมีเอกภาพในการศึกษา : อบต.พลับพลาไชย
มีความพยายามเชื่อมโยงระบบการบริหารจัดการท้องถิ่นเข้าหากันซึ่งเป็นต้นทุนในการจัดการ
ศึกษาพัฒนาคุณภาพประชาชนในพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็มีความยืดหยุ่นในการใช้นโยบาย ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ในการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น และตามที่ประชาชนในพื้นที่จะให้ความสำคัญ
3. ความสามารถในการเชื่อมโยงกิจกรรมการศึกษาไปสู่ปัญหาสังคมอื่น ๆ :
อบต.พลับพลาไชย สามารถที่จะสร้างความเชื่อมโยงกิจกรรมทางการศึกษากับปัญหาอื่น ๆ
ในสังคมท้องถิ่นได้ ด้วยวิธีสร้าง “ห้องปฏิบัติการทางสังคม” (Social lab) ขนาดย่อม ให้เด็ก
ได้เรียนรู้ทรัพยากร อาหาร และวัฒนธรรมบริบทชุมชนตั้งแต่วัยอนุบาล
4. ความสามารถในการขยายขอบเขตทางการศึกษาให้ครอบคลุมอย่างแท้จริง : ด้วยขนาด
แล้ว อบต. พลับพลาไชย สามารถขยายขอบเขตของการศึกษาให้ครอบคลุมประชาชนทุกช่วงวัย
ในพื้นที่รับผิดชอบได้ โดยอบต.เองมีแผนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและตรงความต้องการ
กลุ่มเป้าหมายได้ จะเห็นได้จากการที่เด็กแรงเกิดทุกคนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับ
การตรวจเยี่ยมเพื่อคำนึงการแก้ปัญหาพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิด ทั้งยังต่อยอดการดูแลถึงระดับ
อนุบาล และในอนาคตจะมีโครงการที่ขยายระดับการศึกษาเด็กต่อไปในอนาคต จนถึงทุกช่วงวัย
5. ความเข้าใจและเชื่อมั่นว่าการศึกษาของท้องถิ่นช่วยในการลดความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น
และสังคมได้ : การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของ Social Accountability ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถทำเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของท้องถิ่นได้ตรงเป้าหมาย อบต.พลับพลาไชย มีความเชื่อมัน ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
และมีนโยบายชูการศึกษาอย่างจริงจัง
ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข
1. ปัญหาในโรงเรียน : พบว่า เด็กบางรายมีการมาเรียนในสภาพไม่พร้อม ไม่ได้รับประทาน
อาหารเข้ามาทางโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย และตำบลพลับพลาไชย
เอง ใช้วิธีการลงพื้นที่ไปเยี่ยมบ้านเพื่อค้นหาสาเหตุการจัดสรรเวลาและให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง
2. ปัญหาด้านงบประมาณ : บางทีงบประมาณก็ไม่ตอบสนองได้รวดเร็ว ทางองค์การ
บริหารส่วนตำบล เก็บข้อแก้ปัญหานี้ไปปรับปรุงการวางแผนงานในปีต่อไป
สถาบันพระปกเกล้า 29