Page 302 - kpiebook65063
P. 302

พัฒนาเชิงรุกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในชุมชน โดยการพัฒนาเด็ก ขั้นตอนการดำเนินงาน

               “โครงการรวมพลังสร้างคน เริ่มต้นตั้งแต่เด็กแรกเกิด” และ “โครงการลดช่องว่างทางการศึกษา
               โรงเรียนอนุบาล 5 G” เป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องหลายปี ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน

               ขั้นตอนการดำเนินงาน มีดังนี้

                     1. การค้นหาความเป็นอยู่ในพื้นที่จากข้อมูลประชาชน


                       องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย มีการติดตามลงพื้นที่เป็นประจำ เพื่อทราบ
               ความเป็นอยู่ของประชาชน และหนึ่งในข้อมูลที่น่าสนใจในการลงพื้นที่ปี 2560 พบว่า ในพื้นที่    ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               มีคุณแม่วัยใส ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และมีการตั้งครรภ์ในสภาพไม่พร้อม รวมถึง
               ขาดการวางแผนครอบครัวที่ดี ทำให้เด็กที่เกิดมาประสบปัญหาขาดการดูแลเอาใจใส่จาก
               บิดา มารดาเท่าที่ควร รวมทั้งมีเด็กในวัยอนุบาลที่มีปัญหาการเข้าถึงโรงเรียนอนุบาลที่มีคุณภาพ

               และค่าใช้จ่ายน้อย ผู้ปกครองประสบปัญหาด้านทุนทรัพย์ อบต. พลับพลาไชย จึงเริ่ม ประสาน
               ข้อมูลเกี่ยวกับมารดาคลอดบุตรจากสำนักทะเบียนราษฎร์อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรี

               และรวบรวมข้อมูลนักเรียนและกิจกรรมทั้งหมดในเขตพื้นที่ตำบลพลับพลาไชย

                     2. วางแผนโครงการเพื่อแก้ปัญหา

                       อบต. พลับพลาไชย กลับมาดูทรัพยากรที่ตนเองมีและพบว่า มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตั้งแต่

               ปี 2542 จึงคิดว่า ที่แห่งนี้จะเป็นที่อนุบาลเด็กซึ่งเป็นกำลังสำคัญของพื้นที่ รวมทั้งยังมี
               กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการเด็กและเข้มแข็ง จึงริเริ่ม

               โครงการใหญ่ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่“โครงการรวมพลังสร้างคน เริ่มต้นตั้งแต่เด็กแรกเกิด” ซึ่งดูแล
               พัฒนาการเด็กแรกเกิด และ “โครงการลดช่องว่างทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาล 5 G” ที่พัฒนา
               คุณภาพการศึกษาเด็กในพื้นที่ตั้งแต่อนุบาล โดยทีมโครงการรวมพลังสร้างคน เริ่มต้นตั้งแต่

               เด็กแรกเกิด ประกอบด้วย ผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงานเจ้าหน้าที่ อบต.พลับพลาไชย และ       ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               ทีม One Home ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุพรรณบุรี

               โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่ง ประชาชนในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสา
               ทีมโครงการลดช่องว่างทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาล 5 G ประกอบด้วย ผู้บริหาร สมาชิกสภา
               พนักงานเจ้าหน้าที่ อบต.พลับพลาไชย โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาตำบลพลับพลาไชย (7 โรง)

               ปราชญ์ชุมชน ประชาชนในพื้นที่ อบต. พลับพลาไชย ออกแบบเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลของ
               มารดาในพื้นที่ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดเตรียมข้อมูลความรู้และสิ่งของจำเป็นสำหรับมารดา

               คลอดบุตร เช่น คู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ชุดอุปกรณ์พัฒนาการมองเห็นสำหรับเด็กแรกเกิด
               สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงดูบุตร เครื่องมือเก็บข้อมูลด้านสาธารณสุข






                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   291
   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307