Page 284 - kpiebook65063
P. 284

4)  นโยบายด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงสร้าง

               พื้นฐาน ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี มีการขยายตัวอย่าง
               ต่อเนื่อง มาโดยตลอด รวมทั้งขยายตัวต่อเนื่องในพื้นที่รอบ ๆ เขตพื้นที่ของเทศบาลฯ อีกด้วย

               ทำให้การบริหารจัดการ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการสาธารณูปโภคต้องได้รับการจัดการที่ดี
               อย่างไรก็ตามโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งสาธารณูปโภคในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ได้รับ
               การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่จะใช้แรงงานของบุคลากรเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเกิด

               ปัญหาในกรณีมีเหตุเร่งด่วนพร้อม ๆ กัน จึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการ
               โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และเครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานให้มากขึ้น     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19


                     5)  นโยบายด้านการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมือง พื้นที่ในเขตเทศบาล
               เมืองสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่ในเขตเมือง ประกอบด้วย 16 ชุมชน แยกเป็น ชุมชนในเขตเมือง และ

               ชุมชนรอบนอก ชุมชนในเขตเมือง ประกอบด้วยพื้นที่ของกรมธนารักษ์ กรมศาสนา สำนักงาน
               ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พื้นที่ของเทศบาลและพื้นที่ของเอกชนบางส่วน ทำให้การปรับปรุง
               และพัฒนาทำได้ไม่ทันต่อความเจริญของสังคมเมืองที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง

               ประสานงานและบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
               ให้ทันต่อความเจริญที่เกิดขึ้นสำหรับชุมชนรอบนอก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ของเอกชน ซึ่งเริ่ม

               มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
               เพื่อให้เขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองน่าอยู่ อย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ของเทศบาล


                     6)  นโยบายด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ปัจจุบันโครงสร้างทางด้านสังคม
               ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากพื้นที่จังหวัด
               สุพรรณบุรีอยู่ใกล้กรุงเทพมหานครคนรุ่นใหม่มักจะเดินทางไปศึกษาทำงานและพักอาศัยอยู่ใน

               กรุงเทพมหานคร ส่งผลทำให้ครอบครัวมีขนาดเล็กลง  จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็น
               สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการดูแลให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกวัยให้มีสังคมและคุณภาพ    ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

               ชีวิตที่ดี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรีบดำเนินการ ทั้งด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและ
               การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

                     7)  นโยบายด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องแผนพัฒนาชุมชน

               ของแต่ละชุมชน จะเป็นแผนหลักในการที่จะสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นการมี
               ส่วนร่วมในโครงการถือเป็นหัวใจของการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
               ร่วมกันปฏิบัติงาน และร่วมกันแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ส่วนนโยบายของคณะผู้บริหาร

               ความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ จะถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเทศบาลซึ่งรวมทั้งแผนพัฒนา
               ชุมชนที่กล่าวมาข้างต้นด้วย





                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   279   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289