Page 274 - kpiebook65063
P. 274
ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น
จากการจัดทำโครงการสามารถลดจำนวนเด็กที่มีปัญหาการเรียน โดยการนำข้อมูล
มาวิเคราะห์ในปีแรก คือข้อมูลของสถาบัน พบว่าเด็กที่มารักษาที่สถาบันจากที่ทำโครงการไป
ปีแรกจากเดิมมี 300 คน เพิ่มขึ้นมาประมาณ 100 คน และนำข้อมูลจากจำนวนคนที่เพิ่มขึ้นมา
วิเคราะห์ พบว่า ร้อยละ 95 มีผลการเรียนที่ดีขึ้นในประมาณ 2 ใน 3 จากเด็กทั้งหมด และแย่ลง
ประมาณร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ดีเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้รับการรักษา
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดทำโครงการเป็นผลกระทบเชิงบวก คือ พัฒนาคุณภาพ ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
การศึกษา รวมทั้งหน่วยศึกษานิเทศก์ เทศบาลนครขอนแก่น ยังมีการพัฒนาต่อยอดโครงการ
โดยในปีการศึกษาหน้าจะดำเนินการจัดอบรมการคัดกรองและให้ความรู้กับครูในระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้นและระดับปฐมวัยเพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มเนื้อหาการดูแลเด็กเล็กระดับปฐมวัยและ
เด็กวัยรุ่นระดับมัธยมต้นเพิ่มขึ้น
สรุปได้ว่าผลสำเร็จและผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นตอบโจทย์การจัดบริการสาธารณะในด้าน
ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ทำให้เด็กกลุ่มเสี่ยงมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม
ได้อย่างมีความสุขตามศักยภาพของตนเอง
ปัญหาและอุปสรรค
ด้านของสิทธิการรักษา
จากการจัดทำโครงการพบว่าการเข้าถึงสิทธิในการรักษาของเด็กยังไม่ครอบคลุมทั้งด้าน
ความสะดวกในการเข้ารับบริการและด้านค่าใช้จ่ายในการรักษา โดยมีข้อมูลจากการสัมภาษณ์
นายแพทย์ทางสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกี่ยวกับปัญหา
ของโครงการว่า ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
“อุปสรรคส่วนนึงจะเป็นเรื่องของสิทธิการรักษาเนื่องจากเด็กเทศบาลมาจาก
หลากหลายครอบครัวหลากหลายพื้นที่ บางคนมาจากต่างอำเภอโดยสิทธิการรักษา
ส่วนใหญ่จะเป็นสิทธิบัตรทองบัตร 30 บาท ดังนั้น สิทธิเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับโรงบาล
ต้นสังกัดว่าจะอนุมัติให้ส่งตัวมาที่สถาบันหรือไม่ในบางรายที่ต้นสังกัดไม่ส่งตัวมา
ก็จะต้องจ่ายเงินค่ารักษาเองบางครอบครัวที่ไม่มีเงินอาจจะมีความยากลำบาก
ในการมารักษา ปัจจุบันได้ทำการแก้ปัญหาไปในระดับหนึ่งแล้วโดยทำ MOU
กับโรงบาลขอนแก่นในเคสที่บัตรทองที่อยู่ในโรงพยาบาลขอนแก่น แล้วก็อยู่ใน
สถาบันพระปกเกล้า 2