Page 276 - kpiebook65063
P. 276
ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยความสำเร็จของโครงการนี้คือ การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน จะประกอบด้วย
หน่วยงานข้าราชการ หน่วยงานทางการแพทย์ และหน่วยงานทางการศึกษาที่รวมถึงผู้ปกครอง
โดยแบ่งเป็นปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และวิธีการดำเนินงานสำเร็จ
ปัจจัยภายใน
การวางแผน ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
โรงเรียนเทศบาลวัดกลางซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลมีการจัดแผนการเรียนห้องเรียน
พิเศษขอบฟ้ากว้างเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กและถือเป็นสนับสนุนโครงการ โดยมีข้อมูลจาก
การสัมภาษณ์ศึกษานิเทศก์ทางเทศบาลนครขอนแก่นที่เกี่ยวผลสำเร็จของโครงการว่า
“โรงเรียนเทศบาลวัดกลางที่มีห้องพิเศษแก่เด็ก คือโครงการห้องเรียน
ขอบฟ้ากว้าง มีทั้งเด็กสมาธิสั้น เด็กออทิสติก เด็กพิเศษอยู่รวมกันอยู่ที่ห้องนี้เลย
โดยมีทุกระดับชั้น โดยครูผู้สอนจะเป็นครูที่จบเอกการศึกษาพิเศษ ซึ่งจะมีแผนการ
สอนอยู่แล้วสำหรับเด็กแต่ละคน ซึ่งแต่ละปีในการรับเด็ก จะรับเด็กที่สมาธิสั้นหรือ
บกพร้องในการเรียนรู้ โดยจะเริ่มรับเด็ก ๆ ที่อยู่ในโรงเรียนก่อน โดยมีการเรียงคิว
แต่ละคิวตามลำดับ ซึ่งหลักสูตรของห้องเรียนนี้จะไม่เน้นวิชาการแต่จะเน้นวิชาชีพ
ให้แก่เด็ก” (นาง ต, สัมภาษณ์, 25 กุมภาพันธ์ 2565)
ทรัพยากรบุคลากร
ครู เป็นผู้ดูแล ปรับพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษ รวมทั้งทำความเข้าใจกับนักเรียน ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ปกติ ให้เข้าใจและเห็นใจนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งใช้หลักสูตรที่แตกต่างจากนักเรียนปกติ
ในชั้นเรียนหรือใช้แผนการสอนเฉพาะบุคคล แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized
Education Program: IEP) คือ แผนการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ
ตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
ในขณะที่เด็กอยู่ที่โรงเรียนตลอดเวลา
หมอ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำครูในการปรับพฤติกรรมเด็ก รวมทั้งเนื้อหาในการจัดการ
เรียนการสอน ให้ใช้เนื้อหาที่แตกต่างจากเด็กปกติ รวมทั้งให้คำแนะนำผู้ปกครอง ในการปรับ
สถาบันพระปกเกล้า 2