Page 258 - kpiebook65063
P. 258

ป้องกันเชิงรุกไม่ให้มีผู้พิการเพิ่ม


                     เทศบาลตำบลเกาะคาดำเนินงานเชิงรุกเพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้พิการเพิ่มขึ้น โดยดำเนินงาน
               ควบคู่ไปพร้อมกับเชิงรับด้วยการดูแลผู้พิการอย่างรอบด้าน เป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างเมือง
               ให้น่าอยู่ เป็นมิตร และเอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้พิการ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

               และมีความสุข ทั้งนี้เทศบาลตำบลเกาะคาได้ดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองต่อสาเหตุของความพิการ
               ตามที่ได้วิเคราะห์ไว้ กล่าวคือ การลดอัตราความพิการแต่กำเนิด การลดอัตราความพิการ

               จากอุบัติเหตุ และการลดอัตราความพิการจากการเจ็บป่วยหรือปัญหาสุขภาพ เพื่อเป็นการป้องกัน  ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
               ไม่ให้มีผู้พิการเพิ่มขึ้น ดังนี้

               การลดอัตราความพิการแต่กำเนิด

                     การลดความพิการแต่กำเนิดเป็นการดำเนินงานเชิงรุกในลักษณะของการป้องกันไม่ให้มี

               ผู้พิการเพิ่มขึ้น เทศบาลตำบลเกาะคาร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสหวิชาชีพที่ทำงานร่วมกันมา
               ตั้งแต่การดำเนินงานตามนโยบาย “ชาวเกาะคาไม่ทอดทิ้งกัน” เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและ

               ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน (บ้านท่าผา บ้านศาลาไชย
               และบ้านน้ำล้อม) โรงพยาบาลเกาะคา โรงพยาบาลเวชชารักษ์จังหวัดลำปาง อาสาสมัคร
               สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นต้น โดยร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ

               เช่น

                     ๏ การให้ความรู้สตรีตั้งครรภ์ในการดูแลสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์

                        แข็งแรง โดยให้ความรู้ด้านโภชนาการหรือสารอาหารที่ควรได้รับให้ครบถ้วนและ
                        เพียงพอ การควบคุมน้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์ให้เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน

                        การใช้ชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะ การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกาย
                        ให้พอดี และการดูแลจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด ไม่วิตกกังวล                       ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

                     ๏ การให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในช่วงวัยที่ไม่เหมาะสม เช่น

                        การสอนให้เด็กและเยาวชนรับรู้ถึงสิทธิการตัดสินใจด้วยตนเอง เพศวิถีศึกษาที่เหมาะสม
                        กับวัย สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ การได้รับ
                        การรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว และการได้รับสิทธิรวมถึงประโยชน์ตาม

                        พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559

                     ๏ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นพี่เลี้ยงในการดูแลสตรีตั้งครรภ์

                        ในชุมชน โดยร่วมกับเครือข่ายสหวิชาชีพออกเยี่ยมบ้านระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด
                        ระหว่างการออกเยี่ยมมีการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับ





                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263