Page 259 - kpiebook65063
P. 259

โภชนาการและการดูแลสุขภาพคุณแม่และทารก พูดคุยเพื่อสำรวจอารมณ์และภาวะ

                    ซึมเศร้าของคุณแม่หลังคลอด และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
                    คุณแม่และลูกและระหว่างคุณแม่กับคนรอบข้าง
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   ตำบลเกาะคาเพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้พิการเพิ่มขึ้น แม้ว่าในปีที่ผ่านมาสัดส่วนผู้พิการจากอุบัติเหตุ

           การลดอัตราความพิการจากอุบัติเหตุ

                 การลดความพิการจากอุบัติเหตุเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการดำเนินงานเชิงรุกของเทศบาล


           มีจำนวนไม่มากนัก แต่เพื่อเป็นการป้องกันอย่างรอบด้าน เทศบาลตำบลเกาะคาจึงให้ความสำคัญ

           กับเรื่องนี้ เทศบาลตำบลเกาะคาได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อศึกษา
           สถิติ สถานการณ์ สาเหตุ และจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนร่วมกันกำหนดแนวทาง

           ในการป้องกันอุบัติเหตุ จากนั้นกองช่างของเทศบาลตำบลเกาะคาร่วมกับสถานีตำรวจภูธรเกาะคา
           ได้ติดตั้งเครื่องหมายจราจรและสัญญาณเตือนภัยในจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุที่อาจ
           เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมถึงได้จัดอบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนและชุมชนเกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัย

           รักษาวินัยการจราจร

           การลดอัตราความพิการจากการเจ็บป่วยหรือปัญหาสุขภาพ
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
                 สัดส่วนผู้พิการจากการเจ็บป่วยหรือปัญหาสุขภาพในปีที่ผ่านมามีจำนวนสูงเกือบร้อยละ 80

           ของผู้พิการทั้งหมด ดังนั้นเทศบาลตำบลเกาะคาจึงให้ความสำคัญกับการลดอัตราความพิการจาก
           การเจ็บป่วยหรือปัญหาสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น


                 ๏ การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ
                    เรื้อรัง (non-communicable diseases: NCDs) ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
                    และหลอดเลือดในสมอง เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงในการเป็นอัมพฤกษ์และ

                    อัมพาต ปัจจุบันผู้พิการในประเทศไทยมากถึงร้อยละ 80 ของทั้งประเทศมีสาเหตุ
                    ความพิการมาจากสามโรคนี้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง จำเป็นต้องได้รับ

                    การเฝ้าระวัง และการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นโรงเรียนผู้สูงอายุและโรงเรียนส่งเสริม
                    สุขภาพจึงจัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยตนเองของผู้ป่วยโรค
                    NCDs รวมถึงมีการจัดการเรียนการสอนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุและ

                    บุคคลทั่วไปเพื่อป้องกันการเป็นโรค NCDs เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นอัมพฤกษ์และ
                    อัมพาตในอนาคต ทั้งนี้วิทยากรที่มาให้ความรู้ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย

                    สหวิชาชีพ เช่น บุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน
                    (บ้านท่าผา บ้านศาลาไชย และบ้านน้ำล้อม) โรงพยาบาลเกาะคา โรงพยาบาล
                    เวชชารักษ์จังหวัดลำปาง และเจ้าหน้าที่จากสาธารณสุขอำเภอเกาะคา



        2      สถาบันพระปกเกล้า
   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264