Page 256 - kpiebook65063
P. 256

ใช้ข้อมูลเป็นฐานการทำงาน


                     เทศบาลตำบลเกาะคาใช้ข้อมูลเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงาน โดยข้อมูลผู้พิการมาจากการ
               ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในชุมชนและข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลชุมชนเพื่อมุ่งสู่ท้องถิ่นสุขภาวะ
               (TCNAP) ซึ่งได้มีการจัดเก็บและรวบรวมเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ทั้งนี้ TCNAP คือ โปรแกรม

               การจัดการข้อมูลของชุมชนเพื่อพัฒนาสู่ตำบลสุขภาวะ เทศบาลตำบลเกาะคาใช้เป็นฐานข้อมูล
               ของชุมชน ซึ่งข้อมูลแบ่งออกเป็นหลายระดับ ทั้งระดับกลุ่ม ระดับชุมชน ระดับครัวเรือน

               และระดับบุคคล และข้อมูลประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ ด้านต้นทุนทางสังคม ด้านการสื่อสาร      ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
               ด้านการดูแลสุขภาพ ด้านประชากร ด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการเมือง
               การปกครอง


                     สำหรับการจัดทำฐานข้อมูลชุมชน เทศบาลตำบลเกาะคาได้ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม
               เกี่ยวกับโปรแกรม TCNAP และแต่งตั้งคณะทำงานในเรื่องนี้ จากนั้นทำการประชาสัมพันธ์

               เกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนรู้และเข้าใจถึงประโยชน์และให้ความร่วมมือ
               ในการให้ข้อมูล กลุ่มเยาวชนและอาสาสมัครประจำหมู่บ้านเป็นผู้ทำหน้าที่ในการลงพื้นที่

               เก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากที่ได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ขณะที่
               เจ้าหน้าที่เทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลแต่ละด้าน เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
               เรียบร้อยแล้ว ผู้ใหญ่บ้านและประธานอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

               ระดับบุคคลและครัวเรือน ขณะที่เวทีข่วงผญ๋าฮอมกำกึ๊ดตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลระดับ
               กลุ่มและชุมชน ในขั้นสุดท้ายกลุ่มเยาวชนและอาสาสมัครประจำหมู่บ้านทำการบันทึกข้อมูลลงใน

               โปรแกรม TCNAP โดยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้งจึงยืนยันการบันทึกข้อมูล 9

                     ดังนั้นเทศบาลตำบลเกาะคาจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้พิการเชิงประจักษ์ทั้งในเชิงปริมาณและ
               เชิงคุณภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ในพื้นที่ สภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็น

               ของผู้พิการรายบุคคล ตลอดจน ความต้องการและความจำเป็นของครัวเรือนและชุมชนที่มีผู้พิการ   ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               อาศัยอยู่


               จัดพื้นที่พูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน
                     คำว่า “ข่วง” ภาษาท้องถิ่นของทางภาคเหนือ แปลว่า ลานหรือลานกิจกรรม “ผญ๋า” แปลว่า

               ปัญญา “ฮอม” แปลว่า รวบรวม และ “กำกึ๊ด” แปลว่า ความคิด ดังนั้น “ข่วงผญ๋าฮอมกำกึ๊ด”
               จึงแปลว่า ลานปัญญารวมความคิด “ข่วงผญ๋าฮอมกำกึ๊ด คือ การใช้พื้นที่สาธารณะของชุมชน



                   9   วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. (2555). “เกียรติภูมิท้องถิ่น รางวัลพระปกเกล้า
               2555”. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า 33-35.




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261