Page 255 - kpiebook65063
P. 255
แผนภาพแสดงจำนวนผู้พิการจำแนกตามสาเหตุ ปี พ.ศ. 2564
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ที่มา: นักวิจัยเรียบเรียงข้อมูลจากเทศบาลตำบลเกาะคา. “เกาะคาเมืองที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้พิการอย่างมีความสุข”.
เอกสารประกอบการนำเสนอการพิจารณาคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2564.
การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในชุมชนนอกจากทำให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว ยังทำให้ได้ข้อมูล
เชิงคุณภาพซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการดำรงชีวิตของผู้พิการที่เกิดขึ้นจริง
กล่าวคือ การเข้าไม่ถึงบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข การไม่ได้รับสิทธิ
และสวัสดิการที่พึงได้ การมีรายได้น้อยจนถึงรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ การบริโภคอาหาร
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
ไม่ถูกสุขลักษณะ การใช้ชีวิตประจำวันไม่ถูกสุขอนามัย สภาพที่อยู่อาศัยไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้
ชีวิตประจำวัน และการขาดคนดูแลหรือการอยู่อาศัยเพียงลำพัง ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ
สุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้พิการ เช่น สมรรถภาพทางร่างกายเสื่อมถอย มีอาการเจ็บป่วย
มากขึ้น หรือเจ็บป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนเพิ่มเติม รู้สึกเครียด ซึมเศร้า เป็นภาระ และไม่ได้รับ
การยอมรับในสังคม จนนำไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ไม่ดี กล่าวได้ว่า ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี
และไม่มีความสุขในการดำรงชีวิต
กลยุทธ์การสร้างเมืองให้น่าอยู่และเป็นมิตรกับผู้พิการ
เทศบาลตำบลเกาะคานำเสนอข้อมูลผู้พิการต่อชุมชนผ่านเวทีข่วงผญ๋าฮอมกำกึ๊ด เพื่อให้
ชุมชนรับรู้สถานการณ์ของผู้พิการในพื้นที่ ตระหนักถึงความสำคัญ และค้นหาแนวทางในการแก้ไข
ปัญหาร่วมกัน เวทีข่วงผญ๋าฮอมกำกึ๊ดจึงกลายเป็นกลไกสำคัญในการพูดคุยและระดมความคิดเห็น
ร่วมกันในชุมชนจนนำมาสู่ข้อสรุปในการสร้างเมืองเกาะคาให้น่าอยู่ เป็นมิตร และเอื้อต่อการดำรง
ชีวิตของผู้พิการ
2 สถาบันพระปกเกล้า