Page 257 - kpiebook65063
P. 257
(public space) เช่น ศาลาอเนกประสงค์ ลานบ้าน ลานวัด และสวนสาธารณะ เป็นเวที
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อร่วมกันค้นหาปัญหา ตีแผ่ข้อมูลความคิด ระดมความคิดเห็น
เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ตลอดจนติดตามผลจากการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในระดับหมู่บ้าน
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 หรือวิทยากรกระบวนการ เรียกว่า นักวิจัยชุมชน ในการชวนคุย นำคิด วิเคราะห์ปัญหา และสรุป
และระดับตำบล โดยใช้กลวิธีการค้นหาบุคคลที่มีจิตอาสาในการทำงานเพื่อมาเป็นแกนนำหลัก
ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำเสนอต่อเทศบาลตำบลเกาะคา พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน
ในหมู่บ้านได้รับทราบว่าตอนนี้ปัญหาที่พวกเขาเสนอมีขั้นตอนการดำเนินงานไปถึงไหนแล้ว
วิธีนี้ทำให้คนในชุมชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพื้นที่ (sense of belongings) เห็นคุณค่าและ
ความสำคัญของทุกความคิดเห็น ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมในชุมชนอีกด้วย”
10
จากการนำข้อมูลเกี่ยวกับผู้พิการเข้าสู่เวทีข่วงผญ๋าฮอมกำกึ๊ด และได้มีการพูดคุย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งคิดวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหา ตลอดจน
ค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกันหลายครั้ง ระหว่างเทศบาลตำบลเกาะคาและชุมชน จึงเกิด
การตกผลึกความคิดและได้ข้อสรุปที่นำมาสู่ “โครงการเกาะคาเมืองที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของ
ผู้พิการอย่างมีความสุข”
สร้างจิตสาธารณะและจิตอาสา
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
เทศบาลตำบลเกาะคาเชื่อว่า ไม่มีใครรู้ปัญหาได้ดีเท่ากับคนในชุมชน จึงมุ่งเสริมสร้าง
จิตสาธารณะให้กับคนในชุมชนและสร้างจิตอาสาให้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน
โดยเข้ามาร่วมตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบ การใช้พื้นที่สาธารณะ
ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันถกประเด็นปัญหาสาธารณะ หรือ ข่วงผญ๋าฮอมกำกึ๊ด
นอกจากจะทำให้ได้ทางออกในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชนแล้ว ยังทำให้เกิดกลุ่มคนในชุมชน
ที่มีจิตสาธารณะและจิตอาสาต้องการพัฒนาและดูแลชุมชน โดยทุกหมู่บ้านได้ทำการค้นหาบุคคล
ที่มีจิตอาสาประมาณ 2 - 5 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นนักวิจัยชุมชน มีหน้าที่ชวนคนในชุมชนพูดคุย
เกี่ยวกับปัญหาในชุมชน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ค้นหาข้อมูล นำเสนอข้อมูล และจัดเวที
สะท้อนความคิดเห็นของประชาชน จนเกิดเป็นแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน
นอกจากนี้ยังเกิดกลุ่มคนในชุมชนที่มีจิตสาธารณะและจิตอาสาในการดูแลสุขภาพของตนในชุมชน
อีกด้วย
10 สถาบันพระปกเกล้า. “เอกสารประกอบการเรียนรู้ประชาธิปไตยท้องถิ่น”. หลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับ
การเมืองระดับท้องถิ่น ระบบการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ KPI- e-Learning. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://kpi-
elearning.com/ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565.
2 สถาบันพระปกเกล้า