Page 253 - kpiebook65063
P. 253
ชุมชนให้มีส่วนร่วมโดยตรงในการพัฒนาสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็งเพื่อเป็นรากฐาน
ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน ขณะที่ศูนย์รับแจ้งเหตุเด็กและสตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อ
เฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการทารุณกรรมเด็กและสตรี โดยมีการบูรณาการการทำงาน
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ในชุมชนพบว่า ผู้สูงอายุในพื้นที่มีจำนวนมาก และประสบปัญหาหลายด้านทั้งด้านสุขภาพ
6
ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกร่วมกัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้ขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังผู้สูงอายุ จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล
เศรษฐกิจ สวัสดิการ และสังคม เทศบาลตำบลเกาะคาจึงแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ และทำกิจกรรมการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้สูงอายุแต่ละประเภท เช่น การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ
สำหรับผู้สูงอายุติดสังคม การจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเพื่อดูแลผู้สูงอายุอย่าง
ครบวงจร การจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อเสริมรายได้ให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอ (กลุ่มตัดเย็บ
กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ กลุ่มไส้เดือน กลุ่มผ้ามัดย้อม) การทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อฟื้นฟู
สมรรถภาพร่างกายและเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี และการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดเตียง เป็นต้น 7
การดำเนินงานตามนโยบาย “ชาวเกาะคาไม่ทอดทิ้งกัน” ในช่วงนั้น ได้มุ่งเป้าไปที่ประชากร
กลุ่มเด็ก สตรี และผู้สูงอายุภายใต้แนวคิดที่ว่า ทุกคนในเกาะคาคือครอบครัวเดียวกัน และ
ชาวเกาะคาจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
เกาะคาไม่ทอดทิ้งกัน: จากผู้สูงอายุสู่ผู้พิการ
จุดที่ทำให้เทศบาลตำบลเกาะคาและชาวเกาะคาหันมาสนใจหรือให้ความสำคัญกับผู้พิการ
อย่างจริงจัง คือ จำนวนผู้พิการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอดหลายปีและมีจำนวนมาก
ในปัจจุบัน กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2547 มีผู้พิการ รวม 67 คน คิดเป็นร้อยละ 1.28 ของประชากร
ทั้งหมดในพื้นที่ ขณะที่ในปี พ.ศ. 2564 มีผู้พิการมากถึง 302 คน คิดเป็นร้อยละ 6.40 ของ
ประชากรทั้งหมดในพื้นที่ ทั้งนี้การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่เทศบาล สมาชิก
8
สภาเทศบาล นักวิจัยชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้ช่วยเหลือดูแล
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) ประกอบกับการใช้ฐานข้อมูลชุมชนเพื่อมุ่งสู่ท้องถิ่นสุขภาวะ
6 วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. (2553). “เกียรติภูมิท้องถิ่น รางวัลพระปกเกล้า
2553”. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า 92-93.
7 WAY magazine. (28 สิงหาคม 2562). “เกาะคาโมเดล สวัสดิการผู้สูงวัยไม่ทอดทิ้งกัน”. [คลิปวิดีโอ]. สืบค้น
จาก https://www.youtube.com/watch?v=v2gfnDrI-FI เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565.
8 เทศบาลตำบลเกาะคา. “เกาะคาเมืองที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้พิการอย่างมีความสุข”. เอกสารประกอบ
การนำเสนอการพิจารณาคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2564.
2 2 สถาบันพระปกเกล้า