Page 50 - kpiebook65062
P. 50
ส่วนทางทิศใต้ รัฐบาลริเริ่มตัดถนนกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ มาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑
โดยเป็นถนนที่ตั้งต้นจากปลายถนนเพลินจิต เลียบแนวแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ข้ามคลองพระโขนง คลองบางนา และคลองสำโรง จนมาถึงศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ
ถนนสายนี้กระทรวงมหาดไทยได้ให้กรมนคราทรดำเนินการสร้าง โดยขอความอนุเคราะห์ที่ดินจาก
เจ้าของที่ดินตามแนวถนนนั้น และใช้แรงงานคนที่ไม่เสียเงินรัชชูปการปักกรุยและพูนดินทำถนนเป็น
๔๕
ตอนๆ เริ่มตั้งแต่ด้านถนนเพลินจิตจนถึงคลองพระโขนงก่อน ถนนสายนี้คือส่วนหนึ่งของถนนสุขุมวิท
ในปัจจุบัน ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๕ กระทรวงมหาดไทยจึงดำเนินการก่อสร้างถนนนั้นต่อ
ตั้งแต่คลองพระโขนงจนถึงศาลากลางเมืองสมุทรปราการ ๔๖
สำหรับทิศตะวันตกนั้น ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ รัฐบาลมีโครงการสร้างถนน ๔ สาย ทางฝั่งธนบุรี
เพื่อรองรับการขยายตัวของการคมนาคมหลังการก่อสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าแล้วเสร็จลงใน
พ.ศ. ๒๔๗๕ ตามความในหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ว่า “จะต้องมีถนนหนทางและจัดวางแผนผัง
ฝั่งธนบุรี เพื่อสะดวกแก่จราจรของยวดยานพาหนะสืบไป” โดยนายชาลส์ โบดาร์ต (Charles Baudart)
นายช่างนคราทร ได้ออกแบบถนนดังกล่าว (คือถนนประชาธิปก ถนนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ถนนสมเด็จเจ้าพระยา และถนนอิสรภาพในปัจจุบัน) พร้อมวงเวียนใหญ่ (rond point)
ที่รอยต่อถนนประชาธิปกกับถนนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น ๑๗,๒๐๐ เมตร ๔๗
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตยังมีพระดำริให้ตัดถนนซอยเพิ่มอีก
๖ สาย รวมเป็นถนนใหม่ทางฝั่งธนบุรี ๑๐ สาย พร้อมสร้างท่าเรือสำหรับขนส่งสินค้าอีก ๒ แห่ง
ก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๔ – ๒๔๗๕ ตามลำดับ
นอกจากถนนเหล่านี้แล้ว ในรัชกาลที่ ๗ ยังมีการตัดถนนใหม่ๆ ภายในพระนคร เพื่อเสริม
โครงข่ายการคมนาคมทางบกเดิมที่มีมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ให้สมบูรณ์ขึ้นตาม
ความต้องการของมหานครสมัยใหม่ ได้แก่ การตัดเจริญเมือง ถนนจารุเมือง ถนนจรัสเมือง และ
ถนนมหาพฤฒาราม (พ.ศ. ๒๔๗๐) ถนนวิสุทธิกษัตริย์ (พ.ศ. ๒๔๗๑) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการ
๔๘
ปรับปรุงพื้นผิวถนนสายสำคัญ ๆ ในพระนครโดยการปรับแก้เป็นถนนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
ราดทับหน้าด้วยยางแอสฟัลต์ (asphalt) ได้แก่ ถนนราชดำเนินกลาง ถนนบริพัตร ถนนหลานหลวง
ถนนพาหุรัด ถนนพลับพลาไชย และถนนพาดสาย ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ – ๒๔๗๒ อีกด้วย ๔๙
แผนที่ประเมิน
การตัดถนน
จังหวัดธนบุรี
พ.ศ. ๒๔๗๓.
9