Page 52 - kpiebook65062
P. 52

ด้วยบริบทของการพัฒนาเมืองและองค์ประกอบเมืองต่าง ๆ ที่กล่าวมา เมืองกรุงเทพฯ
                      ตลอดจนหัวเมืองสำคัญๆ ของสยามจึงก้าวเข้าสู่สมัยใหม่อย่างช้า ๆ ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
                      พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยที่องค์พระประมุขและรัฐบาลในพระปรมาภิไธยต่างเข้าใจโอกาสและ

                      ปัญหาของเมืองใหญ่ๆ ที่กำลังปรากฏชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ เช่น ปัญหาสุขอนามัย อัคคีภัย
                      ความหนาแน่นของประชากรในเมือง หรือโอกาสในการขยายโครงข่ายการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร

                      ทั้งภายในและภายนอกพระราชอาณาจักร มีการวางนโยบายพัฒนาโครงการสาธารณูปโภค
                      สาธารณูปการขนาดใหญ่ ตลอดจนการออกพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และมาตรการ
                      ในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาเมือง ทั้งการผังเมืองและการก่อสร้างอาคาร  ด้วยปัจจัยทั้งหลาย

                      เหล่านี้ เมืองกรุงเทพฯ กลายเป็นมหานครสมัยใหม่ที่มีพลเมืองหนาแน่น มีการสัญจรทางบกมากขึ้น
                      กว่าในรัชกาลก่อน ๆ หลายเท่าทวีคูณ มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้วางรากฐานไว้แล้ว

                      ในรัชกาลก่อน ๆ เอื้อให้เกิดพื้นที่เมืองสมัยใหม่ที่รองรับพลเมืองที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างใหม่
                      ควบคู่ไปกับพื้นที่เมืองดั้งเดิมที่เป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวน้ำ ท่ามกลางกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง
                      ตลอดช่วงรัชสมัย


                      บริบทสถาปัตยกรรมโลก


                            ในบริบทสถาปัตยกรรมโลก ช่วงรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๖๘ – ๒๔๗๗) ตรงกับช่วงคริสต์ทศวรรษ

                      ๑๙๒๐ – ๑๙๓๐ อันเป็นช่วงที่โลกตะวันตกเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายมหาศาลในช่วง
                      ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ และสงครามโลกครั้งที่ ๒  ความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเกิดขึ้นในบริบทของ
                      โลกตะวันตก และค่อยๆ ส่งอิทธิพลมาสู่สยาม ทั้งโดยตรงและโดยผ่านสถาปัตยกรรมและเมือง

                      อาณานิคมของมหาอำนาจชาติตะวันตกในเอเชีย เกิดเป็นบริบททางสถาปัตยกรรมที่สลับซับซ้อน ทั้งยัง
                      ถูกหล่อหลอมด้วยบริบทเฉพาะถิ่นของสยามเอง ทั้งสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เศรษฐกิจ สังคม

                      วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่

                      สถาปัตยกรรมกับการผลิตแบบอุตสาหกรรม


                            ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสถาปัตยกรรมตะวันตกที่ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
                      (Modern Architecture) นั้นเริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งตรงกับรัชกาลพระบาท

                      สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ระบบการผลิตวัสดุก่อสร้างและระบบ
                      การก่อสร้างอาคารกลายเป็นระบบอุตสาหกรรม เกิดวัสดุก่อสร้างใหม่ๆ เช่น เหล็กหล่อ (cast iron)

                      เหล็กกล้า (steel) กระจกแผ่น (plate glass) และคอนกรีตเสริมเหล็ก (reinforced concrete หรือ




                                                                                                             1
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57